Korkankru

โครงการบัวหลวงก่อการครู

Reading Time: 2 minutes

ในการดูแลของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

โครงการบัวหลวงก่อการครู

โครงการบัวหลวงก่อการครู เป็นโครงการในการดำเนินงานของคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และเครือข่ายองค์กรภาคีที่ทำงานด้านการศึกษาและการพัฒนามนุษย์ในทุกบริบท มีจุดมุ่งหวังจะเห็นการพัฒนาการศึกษาไทยไปในทางที่ดีขึ้น โดยเริ่มจากครูผู้ซึ่งเป็นจุดสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและขยายไปสู่ผู้เรียน

            โครงการบัวหลวงก่อการครูเริ่มเมื่อปี 2562 ภายใต้ชื่อโครงการบัวหลวงก่อการครู : ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ ได้รับแรงบันดาลใจจากโมเดลการพัฒนาครูจากโครงการก่อการครู 4 โมดูล คือ โมดูล 1 ครูคือมนุษย์ สำรวจภูมิทัศน์ภายในของความเป็นครู, โมดูล 2 วิชาก่อการครูแกนนำ, โมดูล 3 ครูคือกระบวนกร และโมดูล 4 ครูปล่อยแสง กลุ่มเป้าหมายคือครูจำนวน 100 คน ทั่วประเทศในการดูแลของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

            และในปี 2563 – 2566 ได้ดำเนินโครงการบัวหลวงก่อการครู : การพัฒนานิเวศการเรียนรู้ โดยมีจุดมุ่งหวังจะพัฒนาการศึกษาไทยที่มีความสอดคล้องกับบริบทชุมชน ผู้ปกครอง โรงเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงเรียนนั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า “นิเวศการเรียนรู้” และพื้นที่ที่น่าสนใจในโรงเรียนที่อยู่ในการดูแลคือพื้นที่จังหวัดอุดรธานี จำนวน 8 โรงเรียน ซึ่งเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อให้เห็นจุดหมายตามที่โรงเรียนต้องการผ่าน 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การวิจัยและพัฒนานิเวศการเรียนรู้

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนาศักยภาพบุคลากร

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาสื่อการสอนและทรัพยากรการเรียนรู้

ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การสื่อสารกับสังคม

รับชมวิดีโออื่น ๆ ได้ที่ : https://youtube.com/playlist?list=PLbkczTHC1M-SfbfYQCQte-3g3-XnqNaeb

ฝึกวิชา-ค้นหาตัวเอง ไปกับ ‘นิเวศการเรียนรู้’ ในอ้อมกอดชุมชน

Reading Time: 2 minutes “ต้องให้เด็กหาตัวเองให้เจอ ให้เขารู้ว่าตัวเองชอบด้านไหน” หากการศึกษาคือเส้นทางของการสร้างอนาคต การค้นหาและส่งเสริมศักยภาพตนเองก็เป็นขั้นตอนสำคัญที่ขาดไปไม่ได้สำหรับ ชูศักรวิชญ์ แสนปัญญา ‘ผอ.ชู’ ผู้อำนวยการใจดีแห่งโรงเรียนบ้านกุดขนวน จังหวัดอุดรธานี

Oct 24, 2023 2 min

หนึ่งคำตอบ ล้านคำถาม ‘ห้องเรียนสร้างสรรค์’ ที่เด็กมีส่วนร่วมออกแบบได้

Reading Time: 2 minutes วไลพรรณ ไชยเวช ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์และการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองแวง จังหวัดอุดรธานี เล่าถึงการสร้าง ‘ห้องเรียนสร้างสรรค์’ ห้องเรียนของครูวไลพรรณจึงเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่จะพาเด็กไปเจอกับชุมชน และโอบรับวิถีชีวิตของชุมชน เพราะนิยามของการเรียนรู้ที่แท้จริงย่อมไม่ถูกจำกัดอยู่เพียงแค่ห้องสี่เหลี่ยม

Oct 24, 2023 2 min