Korkankru

คลังความรู้

หนังสือ Active Learning เรียนรู้ด้วยหัวใจ สมอง และสองมือ

ภาพจำเกี่ยวกับ Active Learning ของหลายคนมักเกี่ยวข้องกับการสอนที่มีกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ลงมือทำ การให้ผู้เรียนได้จับกลุ่มคุยหรือทำกิจกรรมร่วมกัน หรือการให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวร่างกายทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน ตำราต่าง ๆ ก็มักพูดถึง Active Learning ในแง่ของวิธีการนำไปใช้ ซึ่งหนีไม่พ้นการบอกเล่าเกี่ยวกับเทคนิคการจัดกิจกรรมการสอน ทำให้ Active Learning มักถูกมองว่าเป็นเรื่องวิธีการสอน (Concept of Teaching) มากกว่าเป็นเรื่องวิธีการเรียนรู้...

ปี 2024 แล้ว ยังจัดการศึกษาเพื่อความเป็นไทยอยู่หรอ?

Highlight : การศึกษา ถูกมองในฐานะแขนขาของรัฐในการสร้างและผลิตซ้ำอุดมการณ์ เพื่อกล่อมเกลาหรือปลูกฝังให้บุคคลภายใต้อำนาจรัฐมีทัศนคติ ท่าที่ ความรู้สึก ผ่านแบบเรียนหรือหลักสูตรการศึกษาของรัฐ ซึ่งมีจุดเน้นที่ต่างไปตามยุคขึ้นอยู่กับความท้าทายหรือภัยคุกคามทั้งจากการเมืองภายในประเทศและการเมืองระหว่างประเทศในขณะนั้นปัจจุบันโลกเชื่อมโยงเข้าหากันในลักษณะไร้พรมแดน ทำให้เห็นการเคลื่อนย้ายของผู้คนต่างชาติพันธุ์มากยิ่งขึ้น วัฒนธรรมไม่ได้ถูกตรึงไว้เพียงพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งอีกต่อไป ความหลากหลายจึงไม่อาจถูกกดทับไว้ไดังเช่นที่เคยเป็นในอดีต ประกอบกับการตื่นตัวของสังคมในประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนที่มีมากขึ้น จึงเป็นโจทย์สำคัญของรัฐในการออกแบบนโยบายในยุคที่ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ได้รับความสำคัญมากยิ่งขึ้น  เริ่มปรากฏคำว่า ‘การศึกษาพหุวัฒนธรรม’ ในด้านการศึกษาของรัฐไทย โดยมุ่งนำแนวนโยบายไปใช้ในพื้นที่ที่มีกลุ่มวัฒนธรรมรองหรือกลุ่มชาติพันธุ์ งานศึกษาจำนวนหนึ่งชี้ให้เห็นว่า การจัดการศึกษาดังกล่าว ล้วนเป็นไปเพื่อส่งเสริมอุดมการณ์ชาติ อัตลักษณ์และความเป็นไทย...

พระอิทธิยาวัธย์ สุวีรวราวุฒิ: การจัดการเรียนรู้แบบเชื่อมโลกและชีวิต ด้วยวิธีคิดแนวราบ

สังคมไทยในอดีตชุมชนเติบโตคู่กับวัดอย่างแยกไม่ออก นอกจากจะเป็นที่พึ่งทางใจ วัดยังเป็นสถานศึกษาบ่มเพาะเยาวชนอีกด้วย ดังนั้น “พระสงฆ์” จึงมีบทบาทสำคัญในฐานะตัวละครหนึ่งของระบบการศึกษาไทยมาอย่างยาวนาน  อย่างไรก็ตามเพราะความเป็น “พระ” ที่สืบทอดคำสอนและความศักดิ์สิทธิ์ ก็ทำให้การเข้าไปจัดเรียนการสอนศาสนาในโรงเรียนปัจจุบันไม่ได้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่กลายเป็นทางแพร่งระหว่างการอบรมชี้ถูกผิด ให้นักเรียนกลายเป็นคนดี กับอำนาจเหนือท่ามกลางมายาคติของสังคมในการควบคุมชั้นเรียน  “พระอิทธิยาวัธย์ สุวีรวราวุฒิ” หรือ “พระอิฐ” ผู้เข้าสู่เพศบรรพชิต มีชื่อในทางธรรมว่า “โชติปญฺโญ” จากจังหวัดตรังกลับค้นพบเส้นทางที่แตกต่างสำหรับการสร้างการเรียนรู้...

ประกาศรายชื่อก่อการครูรุ่น 6 (ผ่านรอบสัมภาษณ์)

ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจร่วมเดินทางแห่งการเรียนรู้ เพื่อก่อร่างสร้างการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้ร่วมเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้สมัครทุกท่าน ในกิจกรรมอื่น ๆ ของโครงการ

Eco school โรงเรียนตื่นรู้เชิงนิเวศน์ที่ศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์

“ครูนุ่น” ปฐมพร ปูรณัน และ “ครูนุช” นุชวรา ปูรณัน ผู้บริหารรุ่นสองของโรงเรียนศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เติบโตมากับพ่อแม่ธนินทร์ ปูรณัน ผู้จัดการโรงเรียนและ ศันสนีย์ ปูรณัน ครูใหญ่ ผู้ทุ่มเทชีวิตให้กับการพัฒนาโรงเรียนมายาวนาน “ครูนุ่น” ปฐมพร ปูรณัน “ครูนุช”...

การอ่านเปลี่ยนโลก

แม้จะผ่านพ้นสถานการณ์โควิด-19 ที่เด็กต้องกักตัวเรียนหนังสืออยู่บ้านมาได้หลายปีแล้ว แต่ผลกระทบจากช่วง 2 ปีนั้นยังไม่หายไปไหน คุณครูจากโครงการโรงเรียนปล่อยแสงหลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า หลังกลับมาเรียนที่โรงเรียนอีกครั้ง เด็กหลายคนมีปัญหาเรื่องการอ่านเขียน หลายคนมีพัฒนาการล่าช้า และหลายคนไม่สนใจการเรียนรู้เหมือนเดิมเราจึงมาคุยกับพี่เจ-สุดใจ พรหมเกิด ประธานมูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน เพื่อหาคำตอบว่าผลกระทบที่สถานการณ์โควิด-19 เหลือทิ้งไว้ให้แก่เด็กนั้นร้ายแรงมากน้อยแค่ไหน และการอ่านจะช่วยฟื้นคืนการเรียนรู้ที่หล่นหายไปได้อย่างไร 2 ปีที่หล่นหาย จากเด็กที่เคยเรียนอยู่ชั้นอนุบาล 1 ต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน 2...

ชวนเด็กให้อ่านได้ และเขียนดี ไม่ใช่เรื่องยาก

เมื่อการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของเด็กกลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับคุณครูในยุคหลังโควิด-19 โครงการโรงเรียนปล่อยแสงจึงร่วมกับมูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ชวนคุณครูมาเรียนรู้ร่วมกับวิทยากรด้านการอ่านเขียนที่มีชื่อเสียงสองท่าน ว่ากิจกรรมแบบไหนที่จะทำให้การฝึกอ่านฝึกเขียนกลายเป็นเรื่องสนุก และฟื้นทักษะทางภาษาที่หล่นหายไป เพื่อให้เด็กกลับมาตามทันพัฒนาการที่ควรจะเป็นได้ในเร็ววัน  ครูอ่านให้ฟัง เด็กก็อ่านได้  “ปกติการสอนของคุณครูจะตั้งเป้าไว้เลยว่าจะสอนอะไรให้แก่เด็ก แล้วครูก็เลือกหนังสือที่ถูกใจครู มาเล่าให้เขาฟัง แต่ช่วงเวลาแห่งการอ่านก็ควรจะสนุกสำหรับเด็กสิ  วันนี้เราเลยเริ่มจากชวนให้คุณครูคิดว่า เด็กชอบอะไร แล้วจะเลือกหนังสือที่ตรงกับความชอบของเขาได้ไหม” ครู “แต้ว” ระพีพรรณ พัฒนาเวช นักเขียนนิทานเด็ก วิทยากรของโครงการเล่าว่า...

‘แผนการเรียนเฉพาะ’ ทางเลือกของการศึกษาไทย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียน ?

highlight การแบ่งสายการเรียน “วิทย์-ศิลป์” เกิดขึ้นในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2476 เพื่อรองรับการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา แต่ไม่ยืดหยุ่นและสามารถตอบสนองต่อความต้องการในการค้นหาตนเอง “แผนการเรียนเฉพาะทาง” การแบ่งสายการเรียนอิงจากคณะต่าง ๆ ในระดับอุดมศึกษาเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เพื่อมุ่งหวังแก้ปัญหา แต่กลับเป็นการจัดทำแผนการเรียนเฉพาะที่ยิ่งล็อกและบังคับให้นักเรียน ‘ต้องรีบ’ ที่จะรู้ว่าตนเองสนใจและถนัดสิ่งใด เพื่อกระโจนเข้าสู่การแบ่งศาสตร์และสายอาชีพที่เร็วมากขึ้น Personalize Learning ไม่ใช่สายการเรียน (track) ที่หลากหลายตัวอย่างการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้และค้นหาความสนใจ โดยไม่แบ่งสายการเรียนวิทย์...

เรื่องเล่าจากค่าย: โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา ปีที่ 3

“โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา” มุ่งพัฒนาระบบนิเวศทางการศึกษาที่องค์ประกอบต่าง ๆ ผู้สอน ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และชุมชนล้วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน และมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาและสังคม โดยการเปิดพื้นที่ความเป็นไปได้ให้ทุกฝ่ายได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผ่านการพัฒนารายวิชาและระบบการบริหารจัดการวิชาการของโรงเรียน โครงการปีที่ 3 มุ่งเน้นการพัฒนารายวิชาในลักษณะของสหวิชา (Muti-Disciplinary) ซึ่งเป็นรายวิชาที่จะช่วยเสริมสร้างทักษะและองค์ความรู้ที่เป็นที่ต้องการและมีความจำเป็นสำหรับการเรียนรู้และการใช้ชีวิตของนักเรียนในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 4 รายวิชา ได้แก่ 1) รายวิชาบูรณาการ...

‘ห้องน้ำสีรุ้ง’ ตราประทับของความเสมอภาคทางเพศในโรงเรียน ?

กระแสของ Pride Month หรือ เดือนแห่งการเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศ ได้รับการตอบรับจากสังคมไม่เว้นแต่ในรั้วโรงเรียน โดยเห็นได้จากการจัดกิจกรรมหรือการสร้างรูปธรรมอย่าง ‘ห้องน้ำสีรุ้ง’ เพื่อเป็นเครื่องมือหรือตราประทับว่า โรงเรียนแห่งนั้นล้วนให้ความสำคัญต่อความหลากหลายทางเพศ คำถามชวนคิดต่อ คือ การมี ‘ห้องน้ำสีรุ้ง’ จะช่วยให้นักเรียนรู้สึกได้รับการยอมรับในอัตลักษณ์ทางเพศของตนจริงหรือ?  และโรงเรียนเข้าใจถึงความสำคัญของการเคารพต่อความแตกต่างทางเพศจริงหรือ? แน่นอนว่า หนึ่งในประโยชน์สำคัญของการมีห้องน้ำสีรุ้ง คือ การเพิ่มพื้นที่หรือเพิ่มทางเลือกให้แก่นักเรียนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศที่หลากหลายนอกเหนือจากชาย/หญิง มีพื้นที่ที่ช่วยให้รู้สึกปลอดภัยมากขึ้นเมื่อต้องใช้ห้องน้ำในการทำธุระส่วนตัว...