Korkankru

การอ่านเปลี่ยนโลก

แม้จะผ่านพ้นสถานการณ์โควิด-19 ที่เด็กต้องกักตัวเรียนหนังสืออยู่บ้านมาได้หลายปีแล้ว แต่ผลกระทบจากช่วง 2 ปีนั้นยังไม่หายไปไหน คุณครูจากโครงการโรงเรียนปล่อยแสงหลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า หลังกลับมาเรียนที่โรงเรียนอีกครั้ง เด็กหลายคนมีปัญหาเรื่องการอ่านเขียน หลายคนมีพัฒนาการล่าช้า และหลายคนไม่สนใจการเรียนรู้เหมือนเดิมเราจึงมาคุยกับพี่เจ-สุดใจ พรหมเกิด ประธานมูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน เพื่อหาคำตอบว่าผลกระทบที่สถานการณ์โควิด-19 เหลือทิ้งไว้ให้แก่เด็กนั้นร้ายแรงมากน้อยแค่ไหน และการอ่านจะช่วยฟื้นคืนการเรียนรู้ที่หล่นหายไปได้อย่างไร 2 ปีที่หล่นหาย จากเด็กที่เคยเรียนอยู่ชั้นอนุบาล 1 ต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน 2...

ชวนเด็กให้อ่านได้ และเขียนดี ไม่ใช่เรื่องยาก

เมื่อการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของเด็กกลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับคุณครูในยุคหลังโควิด-19 โครงการโรงเรียนปล่อยแสงจึงร่วมกับมูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ชวนคุณครูมาเรียนรู้ร่วมกับวิทยากรด้านการอ่านเขียนที่มีชื่อเสียงสองท่าน ว่ากิจกรรมแบบไหนที่จะทำให้การฝึกอ่านฝึกเขียนกลายเป็นเรื่องสนุก และฟื้นทักษะทางภาษาที่หล่นหายไป เพื่อให้เด็กกลับมาตามทันพัฒนาการที่ควรจะเป็นได้ในเร็ววัน  ครูอ่านให้ฟัง เด็กก็อ่านได้  “ปกติการสอนของคุณครูจะตั้งเป้าไว้เลยว่าจะสอนอะไรให้แก่เด็ก แล้วครูก็เลือกหนังสือที่ถูกใจครู มาเล่าให้เขาฟัง แต่ช่วงเวลาแห่งการอ่านก็ควรจะสนุกสำหรับเด็กสิ  วันนี้เราเลยเริ่มจากชวนให้คุณครูคิดว่า เด็กชอบอะไร แล้วจะเลือกหนังสือที่ตรงกับความชอบของเขาได้ไหม” ครู “แต้ว” ระพีพรรณ พัฒนาเวช นักเขียนนิทานเด็ก วิทยากรของโครงการเล่าว่า...

ประกาศรายชื่อผู้ผ่านเข้ารอบสัมภาษณ์ ก่อการครู รุ่น 6

📌ตรวจสอบรายชื่อ Google sheet : https://bit.ly/3Wf4Ewh 💭ลิงก์เข้าร่วมสัมภาษณ์กลุ่ม (zoom)  จะส่งให้อีกครั้งทางอีเมลก่อนวันสัมภาษณ์ 3 วัน  (หากไม่ได้รับกรุณาติดต่อโครงการ) . ❓หากไม่สะดวกเข้าร่วมสัมภาษณ์ตามวัน/เวลาดังกล่าว  กรุณาติดต่อโครงการเพื่อเปลี่ยนวันสัมภาษณ์

การศึกษาไทยไม่ไร้ความหวัง

จะดีแค่ไหนหากเมื่อเราหมดไฟแล้วยังมี “พื้นที่” เยียวยาเติมพลัง มีผองเพื่อนผู้ประสบชะตากรรมเดียวกันคอยหนุนเสริมเพิ่มกำลังใจ มีชุมชนที่ช่วยให้เราเริ่มต้นและร่วมสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ร่วมกัน  โครงการโรงเรียนปล่อยแสงกำลังทำหน้าที่เป็นพื้นที่นั้น ให้กับครู ผู้อำนวยการโรงเรียน และโรงเรียนหลากหลาย เพื่อร่วมกันสร้างภาพฝันของระบบการศึกษาที่ดีให้กลายเป็นจริง  บนถนนสู่การเปลี่ยนแปลงที่เคลื่อนไปอย่างช้าๆ ขอชวนทุกคนมาอ่านมุมมองและความหวังของทีมบริหารโครงการโรงเรียนปล่อยแสง ผู้อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนระบบนิเวศของโรงเรียนและระบบการศึกษาไปพร้อมกัน  รศ.ดร. อนุชาติ พวงสำลี, ผศ.ดร. อดิศร จันทรสุข, อาจารย์อธิษฐาน์...

ความท้าทายและการไปให้ถึงจุดหมายของ “โรงเรียนปล่อยแสง”

โครงการโรงเรียนปล่อยแสงมีเป้าหมายหลัก คือการสร้างนิเวศการเรียนรู้ที่มีความสุขและเปี่ยมความหมาย         ผ่านการทำงานร่วมกันระหว่างครูและผู้บริหารโรงเรียน            อาจารย์อธิษฐาน์ คงทรัพย์ ผู้อำนวยการโครงการโรงเรียนปล่อยแสง เล่าถึง 3 ความท้าทายที่โครงการฯ พยายามชี้ชวนให้ “ครูแกนนำ” และ “ครูก่อการใหญ่” หรือบรรดาครูและผู้บริหารโรงเรียนที่เข้าร่วมมองเห็นและขับเคลื่อนร่วมกัน คือ       ...

‘แผนการเรียนเฉพาะ’ ทางเลือกของการศึกษาไทย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียน ?

highlight การแบ่งสายการเรียน “วิทย์-ศิลป์” เกิดขึ้นในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2476 เพื่อรองรับการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา แต่ไม่ยืดหยุ่นและสามารถตอบสนองต่อความต้องการในการค้นหาตนเอง “แผนการเรียนเฉพาะทาง” การแบ่งสายการเรียนอิงจากคณะต่าง ๆ ในระดับอุดมศึกษาเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เพื่อมุ่งหวังแก้ปัญหา แต่กลับเป็นการจัดทำแผนการเรียนเฉพาะที่ยิ่งล็อกและบังคับให้นักเรียน ‘ต้องรีบ’ ที่จะรู้ว่าตนเองสนใจและถนัดสิ่งใด เพื่อกระโจนเข้าสู่การแบ่งศาสตร์และสายอาชีพที่เร็วมากขึ้น Personalize Learning ไม่ใช่สายการเรียน (track) ที่หลากหลายตัวอย่างการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้และค้นหาความสนใจ โดยไม่แบ่งสายการเรียนวิทย์...

คืนอำนาจการเรียนรู้ให้เยาวชน บ่มเพาะทักษะจำเป็นนอกตำราเรียน

เมื่อต้นปี 2567 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้ติดตามสถานการณ์การจ้างงานในประเทศไทย โดยใช้ Big Data และการวิเคราะห์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) พบว่า Soft Skill เป็น 6 ใน 10 ทักษะที่นายจ้างต้องการมากที่สุด ผลการศึกษานี้สอดคล้องกับแนวโน้มการจ้างงานทั่วโลก ซึ่งทักษะการทำงานนอกเหนือจากความรู้เฉพาะวิชาชีพมีความจำเป็นสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อหันกลับมาที่ระบบการศึกษาไทยซึ่งทำหน้าที่เตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรมนุษย์...

พลังมหัศจรรย์การอ่าน เยียวยาภาวะการเรียนรู้ถดถอย

ระดับการเรียนรู้ของเด็กไทยภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 เมื่อพิจารณาจากผลการประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA) พบว่ามีคะแนนต่ำสุดในรอบ 20 ปี ทั้งทักษะการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยประเทศอื่น หากเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ ความรู้ความสามารถของเด็กไทย ชั้น ม.3 อาจเทียบเท่ากับนักเรียนชั้น ม.2 ของบางประเทศ หรือความรู้ถดถอยหายไป 1 ปีการศึกษา ธนาคารโลกได้ส่งสัญญาณเตือนว่า...

‘ปล่อยเด็กเปล่งแสง’ สร้างสรรค์ระบบนิเวศการเรียนรู้ กอบกู้สายสัมพันธ์ในโรงเรียน

“อยากให้มีการสอนแบบปฏิบัติมากกว่าครูพูดให้ฟังในคาบ” “เด็กทุกคนควรได้เป็นตัวเองและมีความมั่นใจ ไม่ควรมีใครมาลดคุณค่าของเด็ก” “สนับสนุนให้เด็กได้เรียนในสิ่งที่ชอบ และเดินตามความฝันที่สวยงามของทุกคน” ข้อความเหล่านี้คือเสียงสะท้อนของนักเรียนจำนวนหนึ่งต่อระบบการศึกษา ที่พวกเขามองว่าอาจยังไม่ใช่ ไม่ชอบ ไม่ตอบโจทย์ในสิ่งที่อยากเป็น แล้วการศึกษาหน้าตาแบบไหนที่จะช่วยให้เยาวชนไม่ต้องทนทุกข์ แต่เกิดการเรียนรู้ที่มี ‘ความสุข’ และมี ‘ความหมาย’ คำตอบดังกล่าวปรากฏขึ้นอย่างมีชีวิตชีวาในเวที ‘ปล่อยเด็กเปล่งแสง’ ซึ่งจัดโดย คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 2...

เรื่องเล่าจากค่าย: โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา ปีที่ 3

“โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา” มุ่งพัฒนาระบบนิเวศทางการศึกษาที่องค์ประกอบต่าง ๆ ผู้สอน ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และชุมชนล้วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน และมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาและสังคม โดยการเปิดพื้นที่ความเป็นไปได้ให้ทุกฝ่ายได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผ่านการพัฒนารายวิชาและระบบการบริหารจัดการวิชาการของโรงเรียน โครงการปีที่ 3 มุ่งเน้นการพัฒนารายวิชาในลักษณะของสหวิชา (Muti-Disciplinary) ซึ่งเป็นรายวิชาที่จะช่วยเสริมสร้างทักษะและองค์ความรู้ที่เป็นที่ต้องการและมีความจำเป็นสำหรับการเรียนรู้และการใช้ชีวิตของนักเรียนในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 4 รายวิชา ได้แก่ 1) รายวิชาบูรณาการ...