โครงการผู้นำแห่งอนาคตมีจุดยืนในการพัฒนาศักยภาพผู้นำการเปลี่ยนแปลง และนักขับเคลื่อนสุขภาวะทางปัญญา โดยหนุนเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากด้านใน (Self-leadership) เพื่อก้าวข้ามมายาคติ ความคิด และความเชื่อเดิมๆ ชวนหันกลับมาพัฒนาความสามารถเชิงการสะท้อนย้อนมองตนเอง (Reflexivity) การเชื่อมโยงกับสรรพสิ่ง (Connectivity) การเรียนรู้ใหม่และการเปลี่ยนแปลงตนเอง (Renewability) และความรับผิดชอบต่อตน ผู้อื่น และสังคม และสภาวะการนำที่เอื้อให้เกิดความยั่งยืนและเกิดสังคมสุขภาวะนั้น จำเป็นต้องสร้างสภาวะการนำแบบรวมหมู่ และหลากหลาย Collective Leadership) สามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างมีพลังพร้อมมุ่งประโยชน์สุขของส่วนรวม (Transformative Leadership) นอกจากนี้ โครงการฯ เชื่อว่าการบูรณาการข้ามศาสตร์ และการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกันจะเป็นประตูสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมที่ยั่งยืน พร้อมโอบอุ้มความหลากหลาย และพร้อมร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงสังคม
เป้าหมายของโครงการ
- ยกระดับและขยายเครือข่ายผู้นำการเรียนรู้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง
- พัฒนาศักยภาพนักสื่อสารสุขภาวะและผู้นำการเปลี่ยนแปลง
- วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการทำงาน
- สื่อสารเพื่อเสนอบทสนทนา และจิตสำนึกใหม่ทางสังคม (Public Pedagogy)
ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ยกระดับและขยายเครือข่ายผู้นำการเรียนรู้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 : พัฒนาศักยภาพผู้นำการเปลี่ยนแปลง
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การวิจัยและสร้างองค์ความรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง
- ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การสื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง
หนังสือ Active Learning เรียนรู้ด้วยหัวใจ สมอง และสองมือ
Reading Time: < 1 minutes ภาพจำเกี่ยวกับ Active Learning ของหลายคนมักเกี่ยวข้องกับการสอนที่มีกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ลงมือทำ การให้ผู้เรียนได้จับกลุ่มคุยหรือทำกิจกรรมร่วมกัน หรือการให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวร่างกายทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน ตำราต่าง ๆ ก็มักพูดถึง Active Learning ในแง่ของวิธีการนำไปใช้ ซึ่งหนีไม่พ้นการบอกเล่าเกี่ยวกับเทคนิคการจัดกิจกรรมการสอน ทำให้ Active Learning มักถูกมองว่าเป็นเรื่องวิธีการสอน (Concept of Teaching) มากกว่าเป็นเรื่องวิธีการเรียนรู้ (Concept of Learning)
ปี 2024 แล้ว ยังจัดการศึกษาเพื่อความเป็นไทยอยู่หรอ?
Reading Time: 4 minutes เราจะสร้างห้องเรียนที่เป็น “ไท” ได้อย่างไร ให้นับความเป็น “ไทย” ให้กว้างพอสำหรับทุกคน
พระอิทธิยาวัธย์ สุวีรวราวุฒิ: การจัดการเรียนรู้แบบเชื่อมโลกและชีวิต ด้วยวิธีคิดแนวราบ
Reading Time: 2 minutes “พระอิทธิยาวัธย์ สุวีรวราวุฒิ” หรือ “พระอิฐ” ผู้เข้าสู่เพศบรรพชิต มีชื่อในทางธรรมว่า “โชติปญฺโญ” จากจังหวัดตรังกลับค้นพบเส้นทางที่แตกต่างสำหรับการสร้างการเรียนรู้ ผสานการสอนธรรมเข้ากับระบบการศึกษา โดยไม่ยึดสถานะ “พระ” มาตั้งเป็นศูนย์กลาง แต่เชื่อมั่นในผู้เรียนและชุมชนในการสร้างความเปลี่ยนแปลง
ประกาศรายชื่อก่อการครูรุ่น 6 (ผ่านรอบสัมภาษณ์)
Reading Time: < 1 minutes ประกาศรายชื่อก่อการครูรุ่น 6 (ผ่านรอบสัมภาษณ์) ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจร่วมเดินทางแห่งการเรียนรู้ เพื่อก่อร่างสร้างการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา