Korkankru

Reading Time: < 1 minutes

ข่าวสาร

กิจกรรมของก่อการครู

บทความที่น่าสนใจ

“การศึกษากับเด็กชายขอบ” ปัญหาที่ถูกซ่อนไว้ใต้คำว่า ความมั่นคงกับพหุวัฒนธรรม

ขณะที่เด็กเกิดใหม่ในประเทศไทยลดลงต่อเนื่องมานับทศวรรษ และมีโรงเรียนขนาดเล็กหลายแห่งเสี่ยงถูกปิดตัวเนื่องจากมีจำนวนนักเรียนไม่เพียงพอ  แต่ขณะเดียวกันก็มีเยาวชนไร้สัญชาติจำนวนมากไม่อาจเข้าสู่ระบบการศึกษา  เมื่อไม่กี่เดือนก่อน ผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดอ่างทอง รับเด็กเหล่านี้มาเรียนกว่า 100 คน และโดนตำรวจแจ้งข้อหาทำผิดกฎหมายด้านความมั่นคง  ในความเป็นจริง ประเทศไทยมีนักเรียนรหัส G หรือเด็กนักเรียนที่ไม่มีสัญชาติไทยอยู่ในระบบการศึกษากว่า 80,000 คน  การสัมมนาวิชาการ Education Journey Forum ครั้งที่ 10 เมื่อวันที่ 7...

Oct 21, 2024 2 min

ปี 2024 แล้ว ยังจัดการศึกษาเพื่อความเป็นไทยอยู่หรอ?

Highlight : การศึกษา ถูกมองในฐานะแขนขาของรัฐในการสร้างและผลิตซ้ำอุดมการณ์ เพื่อกล่อมเกลาหรือปลูกฝังให้บุคคลภายใต้อำนาจรัฐมีทัศนคติ ท่าที่ ความรู้สึก ผ่านแบบเรียนหรือหลักสูตรการศึกษาของรัฐ ซึ่งมีจุดเน้นที่ต่างไปตามยุคขึ้นอยู่กับความท้าทายหรือภัยคุกคามทั้งจากการเมืองภายในประเทศและการเมืองระหว่างประเทศในขณะนั้นปัจจุบันโลกเชื่อมโยงเข้าหากันในลักษณะไร้พรมแดน ทำให้เห็นการเคลื่อนย้ายของผู้คนต่างชาติพันธุ์มากยิ่งขึ้น วัฒนธรรมไม่ได้ถูกตรึงไว้เพียงพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งอีกต่อไป ความหลากหลายจึงไม่อาจถูกกดทับไว้ไดังเช่นที่เคยเป็นในอดีต ประกอบกับการตื่นตัวของสังคมในประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนที่มีมากขึ้น จึงเป็นโจทย์สำคัญของรัฐในการออกแบบนโยบายในยุคที่ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ได้รับความสำคัญมากยิ่งขึ้น  เริ่มปรากฏคำว่า ‘การศึกษาพหุวัฒนธรรม’ ในด้านการศึกษาของรัฐไทย โดยมุ่งนำแนวนโยบายไปใช้ในพื้นที่ที่มีกลุ่มวัฒนธรรมรองหรือกลุ่มชาติพันธุ์ งานศึกษาจำนวนหนึ่งชี้ให้เห็นว่า การจัดการศึกษาดังกล่าว ล้วนเป็นไปเพื่อส่งเสริมอุดมการณ์ชาติ อัตลักษณ์และความเป็นไทย รวมถึงเป็นไปเพื่อความมั่นคงของรัฐ มากกว่าที่จะให้ความสำคัญต่อการศึกษาเพื่อลดอคติทางชาติพันธุ์และสนับสนุนความเสมอภาคของกลุ่มคนอย่างเท่าเทียม แนวทางการจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรมในต่างประเทศ...

Sep 5, 2024

พระอิทธิยาวัธย์ สุวีรวราวุฒิ: การจัดการเรียนรู้แบบเชื่อมโลกและชีวิต ด้วยวิธีคิดแนวราบ

สังคมไทยในอดีตชุมชนเติบโตคู่กับวัดอย่างแยกไม่ออก นอกจากจะเป็นที่พึ่งทางใจ วัดยังเป็นสถานศึกษาบ่มเพาะเยาวชนอีกด้วย ดังนั้น “พระสงฆ์” จึงมีบทบาทสำคัญในฐานะตัวละครหนึ่งของระบบการศึกษาไทยมาอย่างยาวนาน  อย่างไรก็ตามเพราะความเป็น “พระ” ที่สืบทอดคำสอนและความศักดิ์สิทธิ์ ก็ทำให้การเข้าไปจัดเรียนการสอนศาสนาในโรงเรียนปัจจุบันไม่ได้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่กลายเป็นทางแพร่งระหว่างการอบรมชี้ถูกผิด ให้นักเรียนกลายเป็นคนดี กับอำนาจเหนือท่ามกลางมายาคติของสังคมในการควบคุมชั้นเรียน  “พระอิทธิยาวัธย์ สุวีรวราวุฒิ” หรือ “พระอิฐ” ผู้เข้าสู่เพศบรรพชิต มีชื่อในทางธรรมว่า “โชติปญฺโญ” จากจังหวัดตรังกลับค้นพบเส้นทางที่แตกต่างสำหรับการสร้างการเรียนรู้ ผสานการสอนธรรมเข้ากับระบบการศึกษา โดยไม่ยึดสถานะ...

Aug 27, 2024

‘แผนการเรียนเฉพาะ’ ทางเลือกของการศึกษาไทย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียน ?

highlight การแบ่งสายการเรียน “วิทย์-ศิลป์” เกิดขึ้นในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2476 เพื่อรองรับการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา แต่ไม่ยืดหยุ่นและสามารถตอบสนองต่อความต้องการในการค้นหาตนเอง “แผนการเรียนเฉพาะทาง” การแบ่งสายการเรียนอิงจากคณะต่าง ๆ ในระดับอุดมศึกษาเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เพื่อมุ่งหวังแก้ปัญหา แต่กลับเป็นการจัดทำแผนการเรียนเฉพาะที่ยิ่งล็อกและบังคับให้นักเรียน ‘ต้องรีบ’ ที่จะรู้ว่าตนเองสนใจและถนัดสิ่งใด เพื่อกระโจนเข้าสู่การแบ่งศาสตร์และสายอาชีพที่เร็วมากขึ้น Personalize Learning ไม่ใช่สายการเรียน (track) ที่หลากหลายตัวอย่างการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้และค้นหาความสนใจ โดยไม่แบ่งสายการเรียนวิทย์ - ศิลป์...

Jul 18, 2024

คลังความรู้

‘ห้องน้ำสีรุ้ง’ ตราประทับของความเสมอภาคทางเพศในโรงเรียน ?

กระแสของ Pride Month หรือ เดือนแห่งการเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศ ได้รับการตอบรับจากสังคมไม่เว้นแต่ในรั้วโรงเรียน โดยเห็นได้จากการจัดกิจกรรมหรือการสร้างรูปธรรมอย่าง ‘ห้องน้ำสีรุ้ง’ เพื่อเป็นเครื่องมือหรือตราประทับว่า โรงเรียนแห่งนั้นล้วนให้ความสำคัญต่อความหลากหลายทางเพศ คำถามชวนคิดต่อ คือ การมี ‘ห้องน้ำสีรุ้ง’ จะช่วยให้นักเรียนรู้สึกได้รับการยอมรับในอัตลักษณ์ทางเพศของตนจริงหรือ?  และโรงเรียนเข้าใจถึงความสำคัญของการเคารพต่อความแตกต่างทางเพศจริงหรือ? แน่นอนว่า หนึ่งในประโยชน์สำคัญของการมีห้องน้ำสีรุ้ง คือ การเพิ่มพื้นที่หรือเพิ่มทางเลือกให้แก่นักเรียนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศที่หลากหลายนอกเหนือจากชาย/หญิง มีพื้นที่ที่ช่วยให้รู้สึกปลอดภัยมากขึ้นเมื่อต้องใช้ห้องน้ำในการทำธุระส่วนตัว ทว่า ความรู้สึกดังกล่าวควรถูกจำกัดเพียงแค่ในพื้นที่ห้องน้ำหรือไม่...

Jun 24, 2024 2 min

กุญแจสู่ประตูแห่งความหวังของการศึกษาไทย การปลดล็อกจากโรงเรียนบางมูลนาก(ราษฎร์อุทิศ)

ครบรอบ 2 ปีของโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาพิจิตร - อุตรดิตถ์ (Partnership School Project) กับ 5 โรงเรียนนำร่อง ได้จัดเวทีเครือข่าย แสดงพลังสื่อสารสังคม สร้างการมีส่วนร่วมทางการศึกษาของคนในชุมชน เพื่อทบทวนเส้นทางห้องเรียนที่เปลี่ยนไป เครื่องมือที่เชื่อมให้เกิดห้องเรียนแห่งความรัก รวมทั้งความท้าทายที่แต่ละโรงเรียนได้ก้าวข้าม ล้วนเป็นแรงบันดาลใจที่จะขยายสู่สังคมการศึกษาไทย ซึ่งเวทีแรก ประเดิมด้วย โรงเรียนบางมูลนาก(ราษฎร์อุทิศ) ภายใต้การสื่อสาร The...

Feb 16, 2024 3 min

“ลอง เรียน รู้” เส้นทางสู่การค้นพบตัวเองของเด็กวัยเรียน (รู้)

ภายในงานเสวนา “ส่งเสียงถึง (ว่าที่) นายก: เรื่องมันเศร้าขอเล่านิดนึง” จัดโดย InsKru พื้นที่แบ่งปันไอเดียการเรียนรู้ของคุณครูทั่วประเทศ เมื่อเดือนเมษายน 2566 “โจ๊ก” - ณัฏฐเมธร์ ดุลคนิต ศึกษานิเทศก์ (ศน.) ชำนาญการ สะท้อนความคาดหวังของนักเรียนกับภาคส่วนอื่นๆ ว่าไม่สอดคล้องกัน “ถ้าถามว่าหลักสูตรควรจะเน้นอะไร ให้เลือกเน้นระหว่าง หนึ่ง การรู้จักและค้นพบตัวเอง...

Aug 29, 2023 2 min