Korkankru

ก่อการครู

ประกาศรายชื่อผู้ผ่านเข้ารอบสัมภาษณ์ ก่อการครู รุ่น 6

📌ตรวจสอบรายชื่อ Google sheet : https://bit.ly/3Wf4Ewh 💭ลิงก์เข้าร่วมสัมภาษณ์กลุ่ม (zoom)  จะส่งให้อีกครั้งทางอีเมลก่อนวันสัมภาษณ์ 3 วัน  (หากไม่ได้รับกรุณาติดต่อโครงการ) . ❓หากไม่สะดวกเข้าร่วมสัมภาษณ์ตามวัน/เวลาดังกล่าว  กรุณาติดต่อโครงการเพื่อเปลี่ยนวันสัมภาษณ์

‘แผนการเรียนเฉพาะ’ ทางเลือกของการศึกษาไทย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียน ?

highlight การแบ่งสายการเรียน “วิทย์-ศิลป์” เกิดขึ้นในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2476 เพื่อรองรับการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา แต่ไม่ยืดหยุ่นและสามารถตอบสนองต่อความต้องการในการค้นหาตนเอง “แผนการเรียนเฉพาะทาง” การแบ่งสายการเรียนอิงจากคณะต่าง ๆ ในระดับอุดมศึกษาเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เพื่อมุ่งหวังแก้ปัญหา แต่กลับเป็นการจัดทำแผนการเรียนเฉพาะที่ยิ่งล็อกและบังคับให้นักเรียน ‘ต้องรีบ’ ที่จะรู้ว่าตนเองสนใจและถนัดสิ่งใด เพื่อกระโจนเข้าสู่การแบ่งศาสตร์และสายอาชีพที่เร็วมากขึ้น Personalize Learning ไม่ใช่สายการเรียน (track) ที่หลากหลายตัวอย่างการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้และค้นหาความสนใจ โดยไม่แบ่งสายการเรียนวิทย์...

‘ห้องน้ำสีรุ้ง’ ตราประทับของความเสมอภาคทางเพศในโรงเรียน ?

กระแสของ Pride Month หรือ เดือนแห่งการเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศ ได้รับการตอบรับจากสังคมไม่เว้นแต่ในรั้วโรงเรียน โดยเห็นได้จากการจัดกิจกรรมหรือการสร้างรูปธรรมอย่าง ‘ห้องน้ำสีรุ้ง’ เพื่อเป็นเครื่องมือหรือตราประทับว่า โรงเรียนแห่งนั้นล้วนให้ความสำคัญต่อความหลากหลายทางเพศ คำถามชวนคิดต่อ คือ การมี ‘ห้องน้ำสีรุ้ง’ จะช่วยให้นักเรียนรู้สึกได้รับการยอมรับในอัตลักษณ์ทางเพศของตนจริงหรือ?  และโรงเรียนเข้าใจถึงความสำคัญของการเคารพต่อความแตกต่างทางเพศจริงหรือ? แน่นอนว่า หนึ่งในประโยชน์สำคัญของการมีห้องน้ำสีรุ้ง คือ การเพิ่มพื้นที่หรือเพิ่มทางเลือกให้แก่นักเรียนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศที่หลากหลายนอกเหนือจากชาย/หญิง มีพื้นที่ที่ช่วยให้รู้สึกปลอดภัยมากขึ้นเมื่อต้องใช้ห้องน้ำในการทำธุระส่วนตัว...

‘ตั้งเป้าสุดท้ายว่าจะเลิกทำ’ ความหวังของ ‘ครูจุ๊บแจง-ศิริพร ทุมสิงห์’ ครูแนะแนวที่อยากให้เรื่องสิทธิของเด็กเป็นเรื่องสำคัญ

“เราเกลียดอาชีพครู เพราะรู้สึกว่าตัวเองโดนแย่งความรัก โดนแย่งความใส่ใจ แม่เราเป็นครูสอนศูนย์เด็กเล็ก เขามักต้องพาเด็กกลับมาบ้านด้วยเสมอ ฝากใครดูแลไม่ได้เราก็ต้องเป็นคนดูแลให้ เรามองว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่ไม่มีความสุขเลย เราไม่อยากเป็น ” ‘ครูจุ๊บแจง-ศิริพร ทุมสิงห์’ บอกให้ฟังเมื่อถามถึงจุดเริ่มของการเข้ามาทำงานอาชีพครู  จากเด็กเนิร์ดในช่วง ม.ต้น สู่เด็กสายกิจกรรมในช่วง ม.ปลาย เธอได้เจอกับเพื่อนๆ และความสนุกจากการเรียนรู้นอกห้องเรียน ทำให้เธอสนใจศิลปะมากขึ้น และใช้เป็นแรงขับเคลื่อนหนีห่างจากสิ่งที่ไม่ชอบ มาถึงช่วงต้องเลือกคณะเพื่อเรียนต่อมหาวิทยาลัย...

‘แค่อยากเห็นมันเปลี่ยนก็เลยลุกไปทำ’ ‘ครูกั๊ก-ร่มเกล้า ช้างน้อย’ กับ PLC Reform วงพูดคุยที่ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมกัน

“PLC สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับครูที่โรงเรียนค่อนข้างเยอะ ไม่ใช่ผมเป็นคนสร้างการเปลี่ยนแปลงแต่ตัว PLC ทำให้ทุกคนได้สร้างการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน ดังนั้นเครดิตมันจึงเป็นของทุกคนเลย”  ‘ครูกั๊ก-ร่มเกล้า ช้างน้อย’ ครูแกนนำโครงการก่อการครู ผู้เป็นตัวแทนโหนด PLC Reform บอกเล่าถึงการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนที่นำเครื่องมืออย่าง PLC ‘Professional Learning Community’ มา Reform จนทำให้เกิดวงพูดคุยที่สามารถดึงส่วนผสมในโรงเรียน ทั้งเด็ก...

‘เรียนรู้นอกตำราผ่านชุมชน’ กับ ‘ครูอับดุลย์ – ศิโรจน์ ชนันทวารี’ ก่อการครู Bangkok และพันธมิตร

“จะดีขนาดไหนถ้าชุมชนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเรื่องการศึกษา  “หนังสือส่วนใหญ่ถูกสร้างมาด้วยสำนักพิมพ์ ซึ่งความเป็นชุมชนหรือท้องถิ่นมันห่างกันอย่างสิ้นเชิง แค่โรงเรียนห่างกันไม่กี่กิโลก็มีเรื่องเล่า ความคิด ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม มีอะไรที่แตกต่างกันไปหมดเลย  “การที่ครูสอนแต่ในตำรา มันก็เหมือนมาโรงเรียนเพื่อไปเรียนสิ่งไกลตัว ทั้งๆ ที่เด็กเดินมาโรงเรียนทุกวัน ผ่านสิ่งต่างๆ รอบตัว แต่ไม่มีโอกาสได้เรียนรู้สิ่งรอบตัว ไม่ได้รู้จักชุมชนหรือบ้านของตัวเอง เรียนแล้วเอาไปพัฒนาอะไร เด็กอาจจะมองไม่เห็น แต่ถ้าเราหยิบประเด็นที่อยู่รอบตัว ทั้งในโรงเรียนหรือในชุมชนมาให้เขาได้เรียนรู้ เขาจะสามารถเชื่อมโยงความเป็นจริงจากสิ่งที่เห็นด้วยตา...

พลเมืองโลกอะไรก๊อน!? แค่สอนยังไม่ทันเลย

หน้าที่พลเมือง เป็นอะไรได้มากกว่าค่านิยม 12 ประการ? ชวนทุกท่านย้อนคิดเกี่ยวกับวิชาหน้าที่พลเมือง แนวคิดเบื้องหลังวิชา ตัวอย่างการออกแบบวิชา ผ่านมุมมองแขกรับเชิญ 4 ท่าน คุณไอติม (พริษฐ์ วัชรสินธุ) ครูทิว (ธนวรรธน์ สุวรรณปาล) ครูแนน (ปาริชาต ชัยวงษ์) ครูธัช (ธรัช...

พิเศษ ถาแหล่ง: โรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคมฯ และ ‘ห้องเรียนระบบสอง’ แนวทางของครู-ชุมชน ป้องกันเด็กหล่นจากระบบการศึกษา

ออกจากโรงเรียนกลางคันปีละสิบกว่าราย ปัญหาใหญ่ของตำบลห้วยซ้อ โรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคม รัชมังคลาภิษก เป็นโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 มีนักเรียนประมาณ 620 คน เป็นระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 280 คน ตอนปลาย 340 คน และมีบุคลากรโรงเรียน 42 คน ซึ่งความยากจนในพื้นที่ส่งผลกระทบโดยตรงกับนักเรียนอย่างมาก เนื่องจากข้อมูลตั้งแต่ปี 2558...

10 ทักษะแห่งปี 2025 และ Soft Skills 7 ด้าน
โรงเรียนต้องมอบทักษะที่หลากหลายในโลกที่พลิกผัน

เมื่อโลกหมุนเร็วขึ้นทุกวัน การพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าจึงส่งผลอย่างมากต่อชีวิตของพวกเรา เราอยู่ในโลกที่หมุนเร็วกว่าแต่ก่อนถึง 20 เท่า และจะหมุนเร็วขึ้นทุกนาทีในอนาคต ปัญหาที่ตามมาจึงมีหลายประการ หนึ่งในนั้นคือปัญหาการสูญเสียทุนมนุษย์ (Human Capital Loss) ที่เป็นผลสืบเนื่องจากระบบการศึกษาที่ปรับตัวไม่เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น จึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับการเตรียมกำลังคนในอนาคตให้มีทักษะและองค์ความรู้ที่เหมาะสมและตอบโจทย์กับความต้องการอย่างแท้จริง ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอมุมมองการจัดการศึกษาภายใต้สถานการณ์ในปัจจุบันว่า โรงเรียนต้องมอบทักษะจำเป็นให้แก่เด็กๆ โดยก่อนหน้านี้ในแวดวงการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมต่างพูดกันถึงทักษะแห่งศตวรรษที่...

‘Fish Bank’ สนุกกับการเรียนรู้จากสถานการณ์จำลอง สำรวจทรัพยากรผ่านบอร์ดเกม

ถ้าพูดถึงเกมที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มนุษย์จะสามารถประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาได้ คงหนีไม่พ้น ‘เกมกระดาน’ หรือ บอร์ดเกม (Board Game) ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานควบคู่มากับอารยธรรมมนุษย์ บอร์ดเกมที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุราว 4,600 ปี ถือกำเนิดที่อารยธรรมเมโสโปเตเมีย นอกเหนือจากความสนุกและเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้เกมเก่าแก่นี้ไม่สาบสูญไป อาจเป็นเพราะแก่นของบอร์ดเกม คือ การจำลองสถานการณ์ต่างๆ ให้เราได้วางแผนและใช้ความคิด อาจกล่าวได้ว่าบอร์ดเกมสามารถถอดเป็นบทเรียนและนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธิดา...