Korkankru

คลังความรู้

‘ห้องน้ำสีรุ้ง’ ตราประทับของความเสมอภาคทางเพศในโรงเรียน ?

กระแสของ Pride Month หรือ เดือนแห่งการเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศ ได้รับการตอบรับจากสังคมไม่เว้นแต่ในรั้วโรงเรียน โดยเห็นได้จากการจัดกิจกรรมหรือการสร้างรูปธรรมอย่าง ‘ห้องน้ำสีรุ้ง’ เพื่อเป็นเครื่องมือหรือตราประทับว่า โรงเรียนแห่งนั้นล้วนให้ความสำคัญต่อความหลากหลายทางเพศ คำถามชวนคิดต่อ คือ การมี ‘ห้องน้ำสีรุ้ง’ จะช่วยให้นักเรียนรู้สึกได้รับการยอมรับในอัตลักษณ์ทางเพศของตนจริงหรือ?  และโรงเรียนเข้าใจถึงความสำคัญของการเคารพต่อความแตกต่างทางเพศจริงหรือ? แน่นอนว่า หนึ่งในประโยชน์สำคัญของการมีห้องน้ำสีรุ้ง คือ การเพิ่มพื้นที่หรือเพิ่มทางเลือกให้แก่นักเรียนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศที่หลากหลายนอกเหนือจากชาย/หญิง มีพื้นที่ที่ช่วยให้รู้สึกปลอดภัยมากขึ้นเมื่อต้องใช้ห้องน้ำในการทำธุระส่วนตัว...

กุญแจสู่ประตูแห่งความหวังของการศึกษาไทย การปลดล็อกจากโรงเรียนบางมูลนาก(ราษฎร์อุทิศ)

ครบรอบ 2 ปีของโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาพิจิตร - อุตรดิตถ์ (Partnership School Project) กับ 5 โรงเรียนนำร่อง ได้จัดเวทีเครือข่าย แสดงพลังสื่อสารสังคม สร้างการมีส่วนร่วมทางการศึกษาของคนในชุมชน เพื่อทบทวนเส้นทางห้องเรียนที่เปลี่ยนไป เครื่องมือที่เชื่อมให้เกิดห้องเรียนแห่งความรัก รวมทั้งความท้าทายที่แต่ละโรงเรียนได้ก้าวข้าม ล้วนเป็นแรงบันดาลใจที่จะขยายสู่สังคมการศึกษาไทย ซึ่งเวทีแรก ประเดิมด้วย โรงเรียนบางมูลนาก(ราษฎร์อุทิศ)...

“ลอง เรียน รู้” เส้นทางสู่การค้นพบตัวเองของเด็กวัยเรียน (รู้)

ภายในงานเสวนา “ส่งเสียงถึง (ว่าที่) นายก: เรื่องมันเศร้าขอเล่านิดนึง” จัดโดย InsKru พื้นที่แบ่งปันไอเดียการเรียนรู้ของคุณครูทั่วประเทศ เมื่อเดือนเมษายน 2566 “โจ๊ก” - ณัฏฐเมธร์ ดุลคนิต ศึกษานิเทศก์ (ศน.) ชำนาญการ สะท้อนความคาดหวังของนักเรียนกับภาคส่วนอื่นๆ ว่าไม่สอดคล้องกัน “ถ้าถามว่าหลักสูตรควรจะเน้นอะไร ให้เลือกเน้นระหว่าง...

ห้องเรียนที่ (หัวใจ) ปลอดภัย  สำคัญแค่ไหนต่อการเรียนรู้

“ห้องเรียนปลอดภัยคือพื้นที่ที่เด็กกล้าพูด มีความไว้ใจซึ่งกันและกันค่ะ”“พื้นที่ปลอดภัยเหรอ น่าจะเป็นพื้นที่ที่เป็นตัวเองได้แบบไม่ต้องกังวล จะทำอะไรก็มีความรู้สึกอิสระ ไม่ต้องกลัวว่าจะถูกหรือจะผิดนะ”“น่าจะเป็นการยอมรับความแตกต่าง ความคิดเห็นที่แตกต่าง”“เป็นพื้นที่ที่ถ้าทำผิดไปแล้วจะมีคนให้อภัย ถ้าทำถูกก็จะรู้สึกว่าทุกคนยอมรับ”“ที่ๆ แสดงออกโดยไม่ถูกคุกคาม”“นักเรียนมีความสบายใจที่จะอยู่พื้นที่นั้น อยากจะพูดอยากจะปรึกษาอะไรก็ทำได้เลย โดยไม่รู้สึกว่าติดขัดอะไร”“พื้นที่ที่มีแสงแห่งความรักและมีความสุขให้กับเรา” เราสามารถนิยามได้ว่า พื้นที่ปลอดภัยคือ พื้นที่ที่เรารู้สึกปลอดภัยจากการกล่าวโทษต่อว่าตัวเอง และเป็นพื้นที่ ๆ สามารถรับฟังตัวเองและเป็นตัวเองได้โดยปราศจากการตัดสินจากคนอื่น พื้นที่ปลอดภัยที่เพียงพอ จะทำให้บรรยากาศการเรียนรู้งอกงาม ผู้เรียนและผู้สอนเป็นตัวของตัวเองได้เต็มที่ สามารถแสดงความรู้สึก ความคิดเห็น...

แนวคิด Learning Organization: ขยายการเรียนรู้ข้ามขอบรั้วโรงเรียน

บทสะท้อนการเรียนรู้ โดยศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช เวทีเครือข่ายแสดงพลังสื่อสารสังคม โรงเรียนร่วมพัฒนา จังหวัดพิจิตร เป็นพื้นที่เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างเครือข่าย และภาคส่วนต่างๆ ในการร่วมกันพัฒนา นิเวศการเรียนรู้ที่มีความสุขและความหมาย ให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนในพื้นที่จังหวัดพิจิตร โดยคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิใจกระทิง ดำเนินโครงการ “นิเวศการเรียนรู้แห่งความสุข และความหมาย: การพัฒนาศักยภาพโรงเรียนร่วมพัฒนา จังหวัดพิจิตร” ตั้งแต่วันที่...

เด็กกลัวครู… ครูจะปกครองง่ายขึ้นจริงหรือ ?

เธอต้องทำแบบนี้… เธอต้องเรียนตามที่ฉันบอก…หากเธอไม่ทำเธอจะต้องถูกลงโทษ ไม้เรียวสัญลักษณ์ของห้องเรียนไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ไม้ชี้กระดานเครื่องมือที่ถูกประกอบสร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้ครูสามารถชี้จุดที่ตนต้องการให้ผู้เรียนสนใจในขณะนั้นได้ ทว่าไม้ชี้กระดานนั้นกลับถูกวัฒนธรรมการสร้างความกลัวเพื่อง่ายต่อการปกครองครอบงำจนมีวิวัฒนาการกลายเป็นไม้เรียวอาวุธคู่กาย หากใครกระทำผิดหรือไม่เข้าใจในเนื้อหา ไม้เรียวนี้จะถูกตีเข้าไปยังผู้เรียน จนกลายเป็นพฤติกรรมที่ถูกส่งต่อกันมาอย่างช้านาน ความรุนแรงที่ถูกซ่อนอยู่ใต้พรมระบบการศึกษา ภัยร้ายที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจ มณี อั่วหงวน หรือ “ครูน้อย” โรงเรียนวัดบ้านห้วยยาว จ.พิจิตร บอกเล่าประสบการณ์การใช้ความกลัวเป็นเครื่องมือในการควบคุมผู้เรียนตลอดชีวิตการเป็นครูร่วม 30 ปี จนได้รับฉายาลับหลังว่า “แม่เสือ”...

มายาคติว่าด้วยความสำเร็จ: การสอบเข้ามหาวิทยาลัยอาจไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต

ภาพ: เฉลิมพล ปัณณานวาสกุล เคยสังเกตไหม เวลานั่งรถผ่านหน้าโรงเรียนมัธยม ไม่ว่าในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด ที่ตลอดแนวรั้วดูเหมือนจะถูกเนรมิตให้เป็นพื้นที่โฆษณาขนาดมหึมา มีแผ่นป้ายไวนีลติดประกาศเชิดชูนักเรียนที่ได้รับรางวัลต่างๆ นานา ขนาบด้วยภาพนักเรียนชั้น ม.6 ที่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยต่างๆ สร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียน หากมองเข้าไปถึงความรู้สึกของเด็ก อาจมีบางคำถามผุดขึ้นตามมาว่า เด็กเหล่านั้นคิดอย่างไรกับการที่รูปของเขาและเธอถูกแปะไว้เต็มกำแพงโรงเรียนด้วยความชื่นชมของผู้ใหญ่ กับอีกมุม แล้วเด็กที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ล่ะ จะรู้สึกอย่างไรกับเรื่องนี้? นั่นคือข้อสังเกตประการหนึ่ง...

ครูเตรียมพร้อมอย่างไร..เมื่อการศึกษาไทยก้าวสู่ฐานสมรรถนะ

ครูเตรียมพร้อมอย่างไร..เมื่อการศึกษาไทยก้าวสู่ฐานสมรรถนะ   “การเรียนรู้ของผู้เรียน” หัวใจสำคัญของการศึกษา แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาได้กำหนดให้การศึกษาฐานสมรรถนะนั้นเป็นแนวทางในการปฏิรูปหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน เพื่อมุ่งให้เกิดการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะหลักที่จำเป็นสำหรับการทำงาน การแก้ปัญหา และการดำรงชีวิต โดยการปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียนในครั้งนี้ ครูผู้สอน หลักสูตร การเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์และสนับสนุน เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและเกิดสมรรถนะตามเป้าหมายที่กำหนดได้ โดยการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรของสถานศึกษา คือผู้บริหารและครูผู้สอนซึ่งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนที่สำคัญ มีกรอบคิดในการเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่ถูกต้อง เกิดความตระหนัก เข้าใจในสิ่งที่ตนต้องพัฒนาก่อนการนำไปใช้จริง ...

ประเมินอย่างไรให้ได้สมรรถนะกับเครื่องมือ Rubrics

เราเรียนไปทำไม?  คำถามสุด classic ที่ตกเป็นประเด็นบ่อยครั้งกับการศึกษาที่ว่าสุดท้ายเเล้วผลลัพธ์ที่เราคาดหวังคืออะไร   การศึกษาที่ให้คุณค่าในตัวเลขมากกว่าการเรียนรู้ของเด็ก ? คะเเนน = การเรียนรู้ เราเองอาจคุ้นชินกับการตัดสินผลการเรียนรู้ผ่านตัวเลขเเละเกรด จนบางครั้งมันเเทบจะกลายเป็นหมุดหมายการเรียนที่ถูกให้ค่าเสียยิ่งกว่าการเรียนรู้จริง ๆ ที่เกิดขึ้นเสียอีก ด้วยปัจจัยหลากหลายที่ทำให้เกรด เข้ามามีส่วนสำคัญต่ออนาคตเเละส่งผลกระทบต่อการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยหรือการหางานทำ เเต่สุดท้ายเเล้วการประเมินผลการเรียนรู้ควรเป็นอย่างไรกันเเน่?   การประเมินฐานสมรรถนะ    [caption...

Grow Model เเผนที่การโค้ช

Grow Model เเผนที่การโค้ช      ทักษะการโค้ชเพื่อครูเป็นหนึ่งในบทเรียนตลาดวิชาของก่อการครู เพื่อช่วยเสริมทักษะพื้นฐานของการโค้ชให้แก่ครู  เพราะคุณครูไม่ได้มีหน้าที่เเค่บอกสอนให้เด็กทำตามแต่เพียงอย่างเดียว แต่ครูยังมีหน้าที่ฝึกให้เด็กคิดเป็น มีทักษะชีวิตที่จะรับผิดชอบต่อตนเอง มีทักษะการเรียนรู้และการแสวงหาความรู้ ซึ่งเป็นสิ่งที่จะติดตัวเด็กไปจนโต  ครูที่มีทักษะการโค้ชจะช่วยสนับสนุนให้เด็กพัฒนาศักยภาพ และเรียนรู้ที่จะแสวงหาคำตอบและการตัดสินใจได้ด้วยตนเองผ่านการรับฟังและตั้งคำถามของครู  โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนวัยรุ่นที่กำลังค้นหาตนเอง ต้องการความเข้าใจ ความไว้วางใจและอยากได้ความมั่นใจจากผู้ใหญ่ว่าเขาคิดเองได้ การสั่งหรือบอกให้พวกเขาเชื่อฟังโดยไม่เปิดโอกาสให้ได้คิด ได้ตั้งคำถาม จึงอาจไม่ใช่ทางออกอีกต่อไป วันนี้ก่อการครูพาทุกคนมารู้จักกับเครื่องมือโค้ชชิ่ง...