Korkankru

โรงเรียนปล่อยแสง

Eco school โรงเรียนตื่นรู้เชิงนิเวศน์ที่ศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์

“ครูนุ่น” ปฐมพร ปูรณัน และ “ครูนุช” นุชวรา ปูรณัน ผู้บริหารรุ่นสองของโรงเรียนศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เติบโตมากับพ่อแม่ธนินทร์ ปูรณัน ผู้จัดการโรงเรียนและ ศันสนีย์ ปูรณัน ครูใหญ่ ผู้ทุ่มเทชีวิตให้กับการพัฒนาโรงเรียนมายาวนาน “ครูนุ่น” ปฐมพร ปูรณัน “ครูนุช”...

โรงเรียนปลอดขยะ จุดเริ่มต้นการสร้างจิตสำนึกสู่สังคม เพิ่มบรรยากาศการเรียนรู้ต่อนักเรียน

ก่อนเทอมสุดท้ายของภาคเรียนที่ 2 ปี 2566 จะปิดลง ในเวลาใกล้เลิกเรียนมีดอกอินทนิลสีม่วงจางคว้างกลีบไปมาเป็นฉากหลัง พร้อมกับบรรยากาศจอแจของเด็กนักเรียนด้านหน้าประตูทางออก ท่ามกลางแก้วน้ำพลาสติก ขวดน้ำ และเศษขยะยิบย่อยก็ปลิวเกลื่อนกระจัดกระจายทั่วถนน  ผลมาจากขยะของทุกคนในโรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ที่ทิ้งมาแต่เช้าจรดค่ำจนล้นถัง “ตอนนั้นยังไม่ได้ย้ายมาบรรจุที่นี่แต่มีโอกาสเข้ามาคุมสอบ กศน. ที่โรงเรียนคำแสนฯ เราเห็นสภาพโรงเรียนมีแต่ขยะ เอ๊ะทำไมอะไรกันนักหนาเรียกว่าสกปรกเลยว่าได้” ครูปิ๋ว-อุไรวรรณ บุญเต็ม ครูชำนาญการพิเศษ ที่เล่าถึงสภาพแวดล้อมเมื่อหลายสิบปีก่อน  ร่องรอยในอดีตนั้นยังหลงเหลือตกค้างมาถึงปัจจุบันอยู่บ้าง...

โรงเรียนที่เด็กสบายใจ ด้วยความเชื่อมั่นและคำพูดอ่อนโยน โรงเรียนศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์

โรงเรียนศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์ เป็นโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสงขลาที่มีห้องเรียนทางเลือกหลากหลาย ทั้งห้องเรียนมอนเตสซอรี ซึ่งเด็กจะได้เรียนแบบบูรณาการคละวิชาและระดับชั้น ห้องเรียนภาษาที่ได้เรียนทั้งภาษาที่ 2 และ 3 กับครูเจ้าของภาษาโดยตรง หรือแม้แต่ห้องเรียนหลักสูตรธรรมดาก็ยังเน้นการเรียนแบบ Open Approach ที่ให้เด็กเลือกทำโปรเจกต์ของตัวเองควบคู่ไปกับกิจกรรมพิเศษ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและองค์ความรู้ของชุมชน การพาเด็กไปทำกิจกรรมมากมายขนาดนี้ คุณครูจะต้องมีทั้งความเป็นนักกระบวนกรคอยออกแบบจัดการกิจกรรมต่าง ๆ และเป็นเพื่อนที่เด็กไว้ใจเพื่อชักชวนเขาไปเรียนสิ่งใหม่ในเวลาเดียวกัน “ปีที่แล้วเป็นปีแรกที่เด็กกลับมาเรียนหลังจากเรียนออนไลน์เพราะโควิด-19  หลายคนก็ยังไม่รู้ว่าต้องปฏิบัติตัวยังไง  เราพบว่าเด็กบางคนไม่กล้าเข้าไปพูดคุยขอคำปรึกษากับครูประจำชั้น...

เชื่อมครูรุ่นใหม่กับครูใกล้เกษียณ

“แต่ก่อนโรงเรียนบ้านกาเนะเป็นเสมือนที่พักพิงของครูวัยเกษียณ”  อรุนา ตาเดอิน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกาเนะ จังหวัดสตูล เล่าให้ฟังถึงวิถีชีวิตในอดีตของครูก่อนที่เธอจะมาเป็นผู้อำนวยการ ซึ่งปัจจุบันเข้าปีที่ 5 แล้ว “มาถึงเดือนแรกตกใจเลย พอบ่ายสามครึ่ง นักเรียนกลับบ้าน คุณครูก็หิ้วกระเป๋าลงตามนักเรียนมา พอเข้าแถวเสร็จ นักเรียนกลับบ้าน คุณครูก็เอารถออกแล้วกลับบ้านเลย เราไม่พูดอะไร เพราะมาสังเกตและศึกษาเรียนรู้ว่าจะปรับตัวให้เข้ากับที่นี่ยังไง” ผ่านไป 3 เดือนกับการพยายามปรับตัว...

พัฒนาผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ด้วยการสื่อสารอย่างสันติ

โรงเรียนเขาน้อยวิทยาคม จังหวัดตราด เป็นโรงเรียนมัธยมฯ ขนาดเล็กที่รายล้อมด้วยธรรมชาติและต้นไม้ใหญ่ บริเวณทางเข้ามีเขาลูกเล็กตามชื่อ เด็กส่วนมากเป็นลูกหลานของเกษตรกรในพื้นที่ ทำสวนยาง ปลูกผลไม้ และส่งขายพืชเศรษฐกิจ  “คนจะเข้าใจว่าเป็นโรงเรียนที่เกี่ยวกับการเกษตร ไม่ก็การปลูกพืชนี่แหละครับ ตอนผมไปตลาด พอแม่ค้ารู้ว่าเป็นครูที่นี่ เขายังทักเลยว่าเด็กโรงเรียนนี้ปลูกต้นไม้ขายได้เงินเยอะเลยนะ” ครูก๊อต-สุทัศน์ ลาดคำ คุณครูที่ปรึกษาประจำชั้น ม.4 เล่าถึงภาพจำของโรงเรียนให้เราฟัง โรงเรียนเขาน้อยวิทยาคมมุ่งสร้างเด็กให้เป็นผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ทั้งนำตัวเอง...

รู้จักตัวเอง ชื่นชมคนอื่น เติบโตอย่างมั่นใจ ทั้งเด็ก ครูและผู้ปกครอง

“โรงเรียนสุจิปุลิเป็นโรงเรียน Leader in Me ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้เด็กมีภาวะผู้นำในตัวเอง เพราะในโลกอนาคตเด็กอาจจะต้องเจอสิ่งหลากหลาย เราจึงพยายามทำให้เขามีสมรรถนะในการจัดการตัวเอง เพื่อพร้อมรับมือกับอนาคตที่แปรผันอยู่ตลอดเวลา และใช้ชีวิตอย่างมีความสุขครับ” ครูแบงค์ - ธนาคาร มะลิทอง คุณครูประจำชั้น ม.3 แนะนำโรงเรียนให้เรารู้จัก โรงเรียนสุจิปุลิ เป็นโรงเรียนเอกชนแนวคิดใหม่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่นำหลักสูตรฐานสมรรถนะของโรงเรียนมาผนวกกับหลักสูตรแกนกลางปกติ โดยสอนทักษะชีวิตและทัศนคติที่ดีให้ผู้เรียนไปพร้อมกับด้านวิชาการ ทั้งการจัดการตนเองและการร่วมงานกับผู้อื่น...

ลดภาระงานครู ด้วยสกรัมบอร์ด

เมื่อโรงเรียนศรีรักษ์ราฎร์บำรุง โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดปราจีนบุรี คิดการใหญ่ อยากจะเป็นพื้นที่ให้นักเรียนได้ค้นพบความถนัดและศักยภาพในแบบของตัวเอง จึงจัดการเรียนการสอนวิชาเพิ่มเติมตามความสนใจของผู้เรียน แต่ความฝันในครั้งนี้ก็ไม่ง่าย เนื่องจากภาระงานของคุณครูไม่ได้มีแค่การสอน แต่ยังมีงานเอกสารและการจัดการต่างๆ ในโรงเรียนที่ต้องดูแล มิหนำซ้ำโรงเรียนก็กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายเรื่องช่องว่างระหว่างวัย เนื่องจากกว่าครึ่งเป็นครูรุ่นใหม่ที่เพิ่งจะบรรจุเข้ามาได้ไม่นาน โครงการโรงเรียนปล่อยแสงได้เข้าไปร่วมทำงานกับโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุงตลอดระยะเวลา 1 ปี เพื่อหาคำตอบว่าจะทำอย่างไรให้ภาระงานอื่นของคุณครูลดลง มีเวลาเต็มที่กับการสอนได้มากขึ้น รวมไปถึงก้าวข้ามความแตกต่างของช่วงวัย เพื่อทำให้โรงเรียนกลายเป็นพื้นที่แห่งความสุขของทั้งผู้เรียนและผู้สอนไปพร้อมกัน โรงเรียนของชุมชน “โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุงเป็นโรงเรียนมัธยมฯ ประจำตำบลแห่งเดียวในจังหวัดปราจีนบุรีที่สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด...

วัยรุ่นไทยกับการก้าวข้ามความกลัว และลุกขึ้นมาเป็นผู้นำ

สภานักเรียน หัวหน้าห้อง และผู้นำกิจกรรมต่างๆ คือข้อต่อสำคัญที่คอยเชื่อมประสานคนในโรงเรียนให้ทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น ฟังเสียงจากเพื่อนนักเรียนเพื่อนำไปแก้ไข รับโจทย์จากคุณครูไปดำเนินการให้แล้วเสร็จ และกล้าที่จะเดินตามความเชื่อมั่นในใจตนเอง ค่อยๆ สร้างความเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ให้โรงเรียนดีขึ้นในทุกวัน บทบาทพิเศษในโรงเรียนมาพร้อมกับโจทย์ที่ยากและท้าทายทั้งจากภายนอกและภายใน กลายเป็นคำถามของโครงการโรงเรียนปล่อยแสงว่า หากเราจะมีทาง “เรียนลัด” ให้ผู้นำเยาวชนเหล่านี้ได้เติบโตอย่างก้าวกระโดด บทเรียนนั้นจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร สร้างทีมด้วย 4 ทักษะชีวิต “เรารวมเอาเด็ก ม.ปลายสามโรงเรียนมาทำกิจกรรมร่วมกัน...

จินตนาการใหม่ของการศึกษาไทย ที่ออกแบบโดยนักเรียน

คงไม่สนุกแน่ถ้าให้เด็กๆ ผู้นำเยาวชนจากสามโรงเรียนที่ผ่านกิจกรรมการโค้ชสุดเข้มข้นตลอดสองวันครึ่งของโครงการโรงเรียนปล่อยแสง กลับไปโรงเรียนของตนเองแบบว่างเปล่า โจทย์การสร้างการเรียนรู้แก่เพื่อนในโรงเรียนจึงถูกมอบให้พวกเขานำไปขบคิดและปล่อยแสงความเป็นไปได้ที่ไม่รู้จบของผู้เรียนให้เห็น แกนนำจากโรงเรียนเขาน้อยวิทยาคม จังหวัดตราด ขอปิดโรงเรียนครึ่งวัน ชวนเพื่อนทั้งโรงเรียนมาจัดตลาดผลิตภัณฑ์พื้นบ้านในชุมชน เพื่อฝึกทักษะการเป็นผู้ประกอบการ    แกนนำจากโรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ จังหวัดหนองบัวลำภู ปลุกทักษะการบริหาร โดยเลือกจัดกิจกรรมใหญ่ส่งท้ายปีของโรงเรียน ซึ่งมีตั้งแต่งานเปิดท้ายขายของไปจนถึงการประกวดแฟชั่นโชว์  ขณะที่แกนนำสองโรงเรียนกำลังแสดงศักยภาพต่อหน้าคนนับร้อย แกนนำโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง จังหวัดปราจีนบุรี เลือกทำโปรเจกต์ในห้องเล็กๆ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมแค่เพียงไม่กี่คน  แต่เข้าไปทำงานในส่วนที่ลึกและเปราะบางที่สุดของเด็กวัยรุ่น มาดูกันว่าพวกเขาทำอะไรกัน ศิลปะสื่อความรู้สึก ...

การอ่านเปลี่ยนโลก

แม้จะผ่านพ้นสถานการณ์โควิด-19 ที่เด็กต้องกักตัวเรียนหนังสืออยู่บ้านมาได้หลายปีแล้ว แต่ผลกระทบจากช่วง 2 ปีนั้นยังไม่หายไปไหน คุณครูจากโครงการโรงเรียนปล่อยแสงหลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า หลังกลับมาเรียนที่โรงเรียนอีกครั้ง เด็กหลายคนมีปัญหาเรื่องการอ่านเขียน หลายคนมีพัฒนาการล่าช้า และหลายคนไม่สนใจการเรียนรู้เหมือนเดิมเราจึงมาคุยกับพี่เจ-สุดใจ พรหมเกิด ประธานมูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน เพื่อหาคำตอบว่าผลกระทบที่สถานการณ์โควิด-19 เหลือทิ้งไว้ให้แก่เด็กนั้นร้ายแรงมากน้อยแค่ไหน และการอ่านจะช่วยฟื้นคืนการเรียนรู้ที่หล่นหายไปได้อย่างไร 2 ปีที่หล่นหาย จากเด็กที่เคยเรียนอยู่ชั้นอนุบาล 1 ต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน 2...