Korkankru

คลังความรู้ งานวิจัย งานวิจัยด้านการศึกษา

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: มายาคติในการศึกษาไทย1 min read

Reading Time: < 1 minutes “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: มายาคติในการศึกษาไทย” มีเป้าหมายในการศึกษาวิธีคิดและวิถีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่ปรากฏในสังคมไทยผ่านความเข้าใจและประสบการณ์ของครูอาจารย์ในสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจะมุ่งเน้นการวิเคราะห์วาทกรรมต่างๆ ที่ก ากับวิธีคิดและวิถีปฏิบัติดังกล่าว เพื่อรื้อถอนมายาคติเกี่ยวกับแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่มีอิทธิพลแพร่หลายสังคม และส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของผู้เรียนในแง่มุมต่างๆ Sep 5, 2022 < 1 min

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: มายาคติในการศึกษาไทย1 min read

Reading Time: < 1 minutes

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เป็นกรอบแนวคิดที่ปรากฏขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 ซึ่งกล่าวถึง ความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนาคนให้มีความเท่าทันและมีทักษะในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและความไม่แน่นอนของโลกอนาคต หลายประเทศทั่วโลกรับแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 นี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายทางการศึกษาเพื่อพัฒนาให้เยาวชนมีทักษะที่จ าเป็นต่อการ “อยู่รอด” และนำพาประเทศสู่แนวหน้า สำหรับประเทศไทย แนวคิดนี้ได้กลายเป็นของแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561 – 2580) และนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงศึกษาธิการในการเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 ทั้งกระแสความเปลี่ยนแปลงและวาทกรรมการพัฒนาที่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้แนวคิดนี้มีอิทธิพลแพร่หลายในสังคมไทย โดยปราศจากการตั้งคำถามถึงความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของบุคลากรทางการศึกษา การเห็นคุณค่าและประโยชน์ของทักษะดังกล่าวในบริบทของสังคมไทย งานวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายในการสำรวจมายาคติเกี่ยวกับแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่ปรากฏในสังคมไทยผ่านความเข้าใจและประสบการณ์ของครูอาจารย์ในสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐาน และศึกษาผลกระทบของมายาคตินี้ต่อสุขภาวะของผู้เรียนในสังคมไทยงาน

วิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีการเก็บข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์และการสัมภาษณ์ครู ผู้บริหารสถานศึกษา นักการศึกษา และนักเรียนระดับมัธยมปลาย จำนวนทั้งสิ้น 16 คน และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรื่องเล่า (narrative inquiry) ร่วมกับกรอบแนวคิดการวิเคราะห์วาทกรรมมายาคติ (discourse-mythological analysis) เพื่อทำความเข้าใจวิธีคิดและวิถีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ผ่านประสบการณ์ของผู้เล่าเรื่อง และเพื่อให้เห็นวาทกรรมต่างๆ ที่กำกับวิธีคิดและวิถีปฏิบัติดังกล่าว

ผลการศึกษาชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญ ดังนี้ ประการแรก ถึงแม้แนวคิดนี้กลายเป็นนโยบายทางการศึกษาที่ถูกส่งต่อไปยังโรงเรียน และครูที่ให้สัมภาษณ์สามารถระบุชื่อทักษะได้ เช่น ทักษะอาชีพ ทักษะการใช้เทคโนโลยี ทักษะการสื่อสาร และท่องสูตรส าเร็จของ 3R4C 3R7C หรือ 3R8C ได้ แต่ครูส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับทักษะเหล่านี้และแนวทางในการน าไปปฏิบัติ ซึ่งปัจจัยหลักคือ การท างานแบบรวมศูนย์การส่งต่อคำสั่งแบบบนลงล่างที่ทำให้ข้อมูลคลาดเคลื่อน ประการที่สอง โรงเรียนยังติดกรอบแนวคิดการประเมินแบบเก่าที่ยังมุ่งเน้นการทดสอบองค์ความรู้ตามสาระวิชา ทำให้ครูไม่เห็นความเป็นไปได้ในการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะเหล่านี้ให้กับเด็ก ประการที่สาม จากสองประการข้างต้นทำให้การรับเข้ามาของแนวคิดนี้ในฐานะรัฐบนเป้าหมายหลักเพื่อการพัฒนา กลับไม่สามารถสร้างการพัฒนาอย่างจริงแท้ได้อย่างเท่าเทียมและสร้างความเหลื่อมล้ำในสังคมมากขึ้น ประการสุดท้ายความตั้งใจดีในการพยายามพัฒนาและออกนโยบายต่างๆมายังโรงเรียนอย่างไม่คิดอย่างองค์รวมส่งผลต่อสุขภาวะทั้งครูและนักเรียน

Your email address will not be published.