“โรงเรียนปล่อยเเสง” ปลุกความรู้สู่โอกาสร่วมสร้างนิเวศการเรียนรู้บนฐานสมรรถนะ1 min read
“โรงเรียนปล่อยเเสง” ปลุกความรู้สู่โอกาสร่วมสร้างนิเวศการเรียนรู้บนฐานสมรรถนะ
หากพูดถึงคำว่า “ระบบการศึกษา” ภาพเเรกที่หลายคนนึกถึงคงหนีไม่พ้นโรงเรียน สถานที่บ่มเพาะความรู้ที่เด็ก ๆ ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับนิเวศนี้ เเต่หากจะขับเคลื่อนเเละพัฒนาการศึกษาให้ดีได้นั้นอาจพูดได้ว่าเเค่ลำพังโรงเรียนเองอาจไม่พอ ด้วยคนหลายกลุ่ม องค์กรหลายองค์กรที่เข้ามามีส่วนร่วมกับระบบการศึกษาในขณะเดียวกันที่การศึกษาเองก็ส่งผลต่อระบบเเละประชากรของประเทศมากมาย การศึกษาจึงไม่ใช่เเค่เพียงเรื่องของโรงเรียนเเต่มีหลายภาคส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งในปัจจุบันหน่วยงานเอกชนก็เป็นส่วนหนึ่งที่เข้ามาร่วมขับเคลื่อนการศึกษาไทยกันมากขึ้่น
TCP บริษัทเครื่องดื่มชั้นนำระดับประเทศกับบทบาทในการขับเคลื่อนการศึกษา
บริษัทที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรมจำกัด (กลุ่มธุรกิจ TCP) หรือที่หลายคนอาจรู้จักกันในนามบริษัทกระทิงเเดงเป็นอีกหนึ่งพันธมิตรที่เข้ามาร่วมขับเคลื่อนการศึกษาภายใต้หมุดหมายหลักคือ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา สิ่งที่มีอยู่เเล้วเดิมในระบบเพิ่มยิ่งทวีเพิ่มมากขึ้นหลังจากการระบาดของสถานการณ์โควิด-19 กับเด็กไทยจำนวน 1.3 ล้านคนที่กำลังเผชิญความเสี่ยงในการหลุดจากระบบการศึกษา ถึงเเม้จะเป็นบริษัทผลิตเครื่องดื่มเเต่ TCP นั้นให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ หัวใจสำคัญแห่งการพัฒนาเเละเเน่นอนว่าการศึกษานับเป็นตัวแปรสำคัญในการสร้างให้เกิดทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ เเละสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้คน รวมไปถึงภาพรวมในเวทีโลกของการเเข่งขันกับประเทศอื่น ๆ
TCP ร่วมขับเคลื่อนการศึกษาไทยพัฒนาโครงการภายใต้ 3 เสาหลัก Integrity Quality Harmony พัฒนาโรงเรียน 100 แห่ง เพิ่มทักษะคุณครู 500 คนเพื่อให้นักเรียนไทยได้เข้าถึงการศึกษาได้ถึง 100,000 คนพร้อมกับสร้างการมีส่วนร่วมในพื้นที่การเรียนรู้ 100 ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างนวัตกรรมการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนสู่การศึกษาฐานสมรรถนะที่เเท้จริง
ขับเคลื่อนการศึกษาเพื่อสร้างห้องเรียนที่มีความสุขเเละความหมาย
ก่อการครูกับการขับเคลื่อนห้องเรียนที่มีความสุขเเละความหมาย หากอยากให้โรงเรียนนั้นปล่อยเเสงสว่างเพื่อนำทางแก่นักเรียน ห้องเรียนต่าง ๆ ก็ควรนำมาซึ่งความสุขเเละความหมาย ไม่ใช่เเค่กับนักเรียนเท่านั้นเเต่คุณครูเองก็เป็นหัวใจหลักของระบบการศึกษาเช่นกัน เพราะเราเชื่อว่าครูเปลี่ยน ห้องเรียนเปลี่ยน ก่อการครูจึงมุ่งหน้าทำงานเพื่อพัฒนาศักยภาพของคุณครูเพื่อห้องเรียนที่เปลี่ยนไปเเละะระบบการศึกษาที่ทำให้เด็ก ๆ ยิ้มได้มากกว่าเป็นทุกข์ เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 การศึกษาฐานสมรรถนะจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราตั้งใจขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาระบบการศึกษาไทย
โรงเรียนปล่อยเเสงภายใต้ความร่วมมือของ TCP เเละก่อการครู
โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการโรงเรียนนำร่องการศึกษาฐานสมรรถนะ : โรงเรียนปล่อยเเสง ภายใต้ความร่วมมือระหว่างบริษัทที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรมจำกัด (กลุ่มธุรกิจ TCP) คณะวิทยาการเรียนรู้เเละศึกษาศาสตร์ ก่อการครูเเละสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมสร้างการเรียนรู้ที่มีความสุขเเละความหมายให้การศึกษาขับเคลื่อนไปบนฐานสมรรถนะ ภายใต้วิสัยทัศน์การทำงานเดียวกัน ความเชื่อในศักยภาพเเละการพัฒนา เราจึงได้จับมือกันเพื่อร่วมขับเคลื่อนการศึกษาที่คุณครูเเละนักเรียนมีความสุขเเละสนุก เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายนำไปปรับใช้ได้จริงผ่าน
4 ยุทศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนาองค์ความรู้และหลักสูตร
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนาศักยภาพบุคลากร
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาสื่อการสอนและทรัพยากรการเรียนรู้
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การสื่อสารกับสังคม
4 Module
โมดูล 1 : Wake Up!
สร้างองค์ความรู้และปรับเปลี่ยนฐานคิด การตระหนักถึงบทบาทของครูทุกคนที่สามารถมีบทบาทในการสร้างการเปลี่ยนแปลง นำพาให้ครูกลับมาตระหนักรู้ถึงความเป็นมนุษย์และคุณค่าภายในตนเอง และมุ่งการสะท้อนปัญหา รับฟังความทุกข์และความต้องการของคนเป็นครู
โมดูล 2 : ชุดวิชาทักษะและเครื่องมือการเรียนรู้
ให้ครูเป็นผู้ออกแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองเสริมชุดวิชาทักษะและเครื่องมือการเรียนรู้ต่างๆ ให้กับครู เช่น การออกแบบเกมเพื่อการเรียนรู้ ห้องเรียนแห่งรัก จิตวิทยาเชิงบวก เวทมนตร์คาถาในการสร้างการเรียนรู้ที่มีความหมาย ห้องเรียนสร้างสรรค์ ทักษะการโค้ชเพื่อครู การวัดและประเมินผล Problem-based learning ฯลฯ อีกทั้ง เสริมองค์ความรู้ชุดวิชาความรู้กลุ่มต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณิตศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมและภาษา ฯลฯ โดยจัดเป็นรายวิชาให้ครูที่เข้าร่วมโครงการเลือกสมัครเข้าร่วมเรียนรู้
โมดูล 3 : เรียนรู้การศึกษาฐานสมรรถนะ
สร้างความรู้ความเข้าใจถึงนิยามความหมายของการศึกษาฐานสมรรถนะ สร้างความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้บนฐานสมรรถนะ รวมถึงการวัดและการประเมินผลการศึกษาแบบฐานสมรรถนะที่เป็นมิตรต่อผู้เรียน
โมดูล 4 : การออกแบบการเรียนรู้บนฐานสมรรถนะ
มุ่งให้ครูเป็นผู้ออกแบบการเรียนรู้ในรูปแบบของตนเอง โดยครูจะปรับบทบาทเป็นมากกว่าการสอนในห้องเรียน กล่าวคือเป็นทั้งผู้ออกแบบการเรียนรู้และเป็นผู้นำกระบวนการเรียนรู้ ผ่านชุดความรู้และทักษะต่างๆ เช่น Learning Design and Facilitation, Authentic Learning, Micro-teaching และ Assessment and Evaluation เป็นต้น
12 โรงเรียนนำร่อง
โรงเรียนมักกะสันพิทยา, โรงเรียนสุวรรณพลับพลาพิทยาคม, โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นนทบุรี, โรงเรียนวัดป่าพฤกษ์, โรงเรียนวิสุทธรังสี จังหวัดกาญจนบุรี, โรงเรียนเขาน้อยวิทยาคม, โรงเรียนบ้านยาง,
โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์, โรงเรียนบ้านกาเนะ, โรงเรียนสุจิปุลิ, โรงเรียนศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์, โรงเรียนเทศบาล ๓ (สระกระเทียม)