Korkankru

ผู้นำแห่งอนาคต

หลากสี ต่างเลนส์ : ว่าด้วยแนวคิดทฤษฎีนำร่วมเคลื่อนสังคม

การพัฒนาศักยภาพผู้นำเชิงพื้นที่เพื่อสร้างภาวะผู้นำกระบวนทัศน์ใหม่ที่ยึดแกนการนำร่วมในการขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงสู่สังคมสุขภาวะทางปัญญา เป็นเป้าหมายสำคัญของโครงการผู้นำแห่งอนาคต  คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ก่อเกิดการทำงานเชิงพื้นที่ที่ได้หนุนเสริมเครื่องมือทั้งกรอบแนวคิดทฤษฎีทางวิชาการ รวมถึงการทำงานเชิงปฏิบัติการจากโครงการเข้าไปผสานร่วมกับแนวทางการทำงานขับเคลื่อนสังคมของผู้คนในชุมชนอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา หนังสือ หลากสีต่างเลนส์ : ว่าด้วยแนวคิดทฤษฎีนำร่วมเคลื่อนสังคม เล่มนี้  รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ กรอบแนวคิดทฤษฎีที่สกัดจากการทำงานจริงของโครงการผู้นำแห่งอนาคตมาไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ โดยชวนมองย้อนกลับไปพูดคุยกับการนำกระบวนทัศน์เก่าและเชื่อมโยงมาพิจารณาการนำกระบวนทัศน์ใหม่ที่ว่าด้วยแนวทางการนำร่วมเป็นแก่นแกนสำคัญ ทว่า แม้การถอดสกัดแนวคิดทฤษฎีในเล่มนี้จะอยู่ภายใต้ร่มของแนวคิดการนำร่วมในการขับเคลื่อนชุมชน แต่ความแตกต่างหลากหลายอย่างที่เรียกได้ว่าหลากสีต่างเลนส์นั้น...

ชัดเจน-มีเป้าหมาย-เห็นใจผู้อื่น: 3 ทักษะสำคัญของผู้นำในภาวะวิกฤติ

งานวิจัยเรื่องการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในภาวะผู้นำของ แจ็คเกอลีน (Jacqueline) และ มิลตัน เมย์ฟิล (Milton Mayfiel) ศาสตราจารย์ด้านการบริหารจัดการ (management) แห่ง Texas A&M International University สหรัฐอเมริกา ระบุไว้ว่า ผู้นำที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีคุณสมบัติ 3 ข้อ ดังนี้...

ผู้นำในภาวะวิกฤติ ไม่ต้องสมบูรณ์แบบ แค่ชัดเจน มีเป้าหมาย และเห็นอกเห็นใจคนอื่น

หากให้คุณลองจินตนาการว่าชีวิตของคนนับหมื่นคนตกอยู่ในมือของคุณ หากให้คุณลองจินตนาการว่าการตัดสินใจของคุณมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของผู้คนหลายล้าน เศรษฐกิจจะหยุดชะงัก บริษัททั่วประเทศจะปลดพนักงานและทยอยปิดกิจการ หากคุณเป็นผู้กำหนดได้ คุณจะทำอย่างไร COVID-19 ที่กำลังระบาดทั่วโลก กลายเป็นสนามสอบให้ผู้นำประเทศทั่วโลก งัดทุกทักษะเท่าที่มีมาแก้โจทย์สุดหินเพื่อทำให้ประเทศของตนอยู่รอด ที่สำคัญ มันเป็นโจทย์ซึ่งเดิมพันด้วยชีวิตคน บทความของ ซูซ วิลสัน (Suze Wilson) อาจารย์ด้านการพัฒนาผู้นำแห่งมหาวิทยาลัยแมสซีย์ (Massey University) มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศนิวซีแลนด์...

พังงาแห่งความสุข สุขที่คุณสัมผัสได้

ส่วนหนึ่งของบทเรียนการทำงานของ พังงาแห่งความสุข ที่ทำงานร่วมกันมากว่า 20 ปีเท่านั้น ภายในหนังสือยังมีประสบการณ์การล้มลุกคลุกคลาน จุดแข็ง จุดอ่อน หรือแนวทางในการทำงานของชุมชน ที่จะทำให้ผู้อ่านหนังสือเล่มนี้ไม่ทำพลาดซ้ำ บทเรียนการทำงานของพังงาไม่ใช่สูตรสำเร็จหรือตัวอย่างที่สมบูรณ์แต่อย่างใด แต่เป็นกรณีศึกษาให้ผู้ที่ทำงานทางด้านนี้ ได้เรียนรู้และทบทวนการทำงานเพื่อสังคมไปด้วยกัน

Collective Leadership for a Resilient Society: ผู้นำร่วมเพื่อการฟื้นฟูและสร้าง­สรรค์สังคม

เครือข่ายผู้นำร่วมเพื่อการฟื้นฟูและสร้าง­สรรค์สังคม (Collective Leadership for a Resilient Society) โครงการฯ ได้พัฒนาเครือข่ายผู้นำร่วมหรือผู้นำกระบว­นทัศน์ใหม่จากภาคส่วนต่างๆ ที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนองค์กร ชุมชนและสังคมภายใต้เป้าหมายร่วมกัน คือ การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับวิกฤตประ­เทศในอนาคต และการฟื้นฟูสังคมและประเทศ ผ่านเวทีการเรียนรู้ร่วมกันที่หลากหลาย ซึ่งเวทีเหล่านี้ไม่ใช่การฝึกอบรม แต่เป็นการเปิดพื้นที่เพื่อการใคร่ครวญสะท้อนย้อนคิดร่วมกัน รวมทั้งเปิดมุมมอง วิสัยทัศน์ มิติทางจิตวิญญาณและปัญญาภายใน เห็นภาวะการนำจากภายในของแต่ละคน...

คนเล็ก เปลี่ยนเมือง: D.I.Y.

คนเล็ก เปลี่ยนเมือง : D.I.Y. เวทีเสวนาสาธารณะผู้นำแห่งอนาคต ครั้งที่ 7 วันที่ 14 สิงหาคม 2558 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร #โครงการผู้นำแห่งอนาคต https://www.youtube.com/embed/sot83c5XgBU

9 ข้อค้นพบบางประการของโครงการผู้นำแห่งอนาคต

9 ข้อค้นพบของโครงการผู้นำแห่งอนาคต นำเสนอในการประชุมคณะที่ปรึกษาและกรรมการกำกับทิศ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ 1. กระบวนการภายในที่ลึกซึ้งมีผลในการสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อผู้นำและการทำงานของผู้นำได้จริง มีผู้นำทางสังคมจำนวนมากที่ทำงานคลุกคลีกับประเด็นปัญหาที่ตนเองสนใจด้วยความทุ่มเทอย่างยาวนาน จนหลายครั้งไม่มีโอกาสได้ทบทวนใคร่ครวญสิ่งที่ทำไปและการสะท้อนย้อนมองตนเอง ทำให้เกิดการ “ติดหล่ม” ไม่สามารถก้าวไม่พ้นวิธีการทำงานและแก้ปัญหาที่ถูกใช้มาอย่างยาวนานโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง การที่ผู้นำได้มาเข้าร่วมกระบวนการภายในที่ให้ความสำคัญกับการเข้าใจและตระหนักรู้ถึงพฤติกรรมตนเอง และเสริมเครื่องมือการวิเคราะห์และเข้าใจสังคมในภาพกว้างนั้น อย่างในเวที Leadership Social Facilitation สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงแก่ตัวผู้นำได้...

ถอดแง่มุมการเรียนรู้จากกิจกรรมของโครงการผู้นำแห่งอนาคต ปี 2559-2560

“พื้นที่การเรียนรู้ร่วม” เป็นการถอดแง่มุมการเรียนรู้จากเวทีเสริมศักยภาพการนําแบบกระบวนทัศน์ใหม่ให้แก่ผู้นําทางสังคมจากภาคส่วนต่างๆ ที่จัดโดยโครงการผู้นําแห่งอนาคตฯตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีทั้งส่วนที่เป็นแนวคิด องค์ความรู้ และประสบการณ์ จากการแบ่งปันของกระบวนกรและผู้นําที่เข้าร่วมโดยเป็นประเด็นที่มีความหมายสําคัญต่อการสร้างการเปลี่ยนแปลงภายในสู่การเปลี่ยนแปลงกลุ่ม ชุมชน และสังคมเพื่อมองเห็นคุณค่าภาวะการนําแบบใหม่ หรือภาวะการนํากระบวนทัศน์ใหม่อย่างเข้าใจและเกิดปฏิบัติการของการขับเคลื่อนสังคมร่วมกันได้อย่างแท้จริงบนเส้นทางแห่งการเติบโตทั้งในตนเองและมิติของจิตวิญญาณควบคู่กัน [pdfjs-viewer url="https%3A%2F%2Fwww.leadershipforfuture.com%2Fwp-content%2Fuploads%2F2017%2F11%2Fafb0710dd6468bf70579c3eb88172aea.pdf" viewer_width=100% viewer_height=1360px fullscreen=true download=true print=true] [media-downloader media_id="5340"...

คุณธรรม นำร่วม และการเปลี่ยนผ่าน: ภาวะผู้นำภูมิปัญญาตะวันออก

การประชุมวิชาการโครงการผู้นำแห่งอนาคต หัวข้อ “คุณธรรม นำร่วม และการเปลี่ยนผ่าน : ภาวะผู้นำภูมิปัญญาตะวันออก” วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ห้องประชุม Infinity 2 โรงแรมพูลแมน ซอยรางน้ำ การนำเสนอโครงการ “ภาวะผู้นำในภูมิปัญญาตะวันออก” บทความที่ 1เรื่อง...

เอกสารประกอบการประชุมวิชาการโครงการผู้นำแห่งอนาคต

“คุณธรรม นำร่วม และการเปลี่ยนผ่าน : ภาวะผู้นำภูมิปัญญาตะวันออก” วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 ตั้งแต่เวลา 08.30 น.- 16.00 น. ณ ห้องประชุม Infinity 2 โรงแรมพูลแมน ซอยรางน้ำ [pdfjs-viewer...