Korkankru

พัฒนาผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ด้วยการสื่อสารอย่างสันติ

โรงเรียนเขาน้อยวิทยาคม จังหวัดตราด เป็นโรงเรียนมัธยมฯ ขนาดเล็กที่รายล้อมด้วยธรรมชาติและต้นไม้ใหญ่ บริเวณทางเข้ามีเขาลูกเล็กตามชื่อ เด็กส่วนมากเป็นลูกหลานของเกษตรกรในพื้นที่ ทำสวนยาง ปลูกผลไม้ และส่งขายพืชเศรษฐกิจ  “คนจะเข้าใจว่าเป็นโรงเรียนที่เกี่ยวกับการเกษตร ไม่ก็การปลูกพืชนี่แหละครับ ตอนผมไปตลาด พอแม่ค้ารู้ว่าเป็นครูที่นี่ เขายังทักเลยว่าเด็กโรงเรียนนี้ปลูกต้นไม้ขายได้เงินเยอะเลยนะ” ครูก๊อต-สุทัศน์ ลาดคำ คุณครูที่ปรึกษาประจำชั้น ม.4 เล่าถึงภาพจำของโรงเรียนให้เราฟัง โรงเรียนเขาน้อยวิทยาคมมุ่งสร้างเด็กให้เป็นผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ทั้งนำตัวเอง...

รู้จักตัวเอง ชื่นชมคนอื่น เติบโตอย่างมั่นใจ ทั้งเด็ก ครูและผู้ปกครอง

“โรงเรียนสุจิปุลิเป็นโรงเรียน Leader in Me ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้เด็กมีภาวะผู้นำในตัวเอง เพราะในโลกอนาคตเด็กอาจจะต้องเจอสิ่งหลากหลาย เราจึงพยายามทำให้เขามีสมรรถนะในการจัดการตัวเอง เพื่อพร้อมรับมือกับอนาคตที่แปรผันอยู่ตลอดเวลา และใช้ชีวิตอย่างมีความสุขครับ” ครูแบงค์ - ธนาคาร มะลิทอง คุณครูประจำชั้น ม.3 แนะนำโรงเรียนให้เรารู้จัก โรงเรียนสุจิปุลิ เป็นโรงเรียนเอกชนแนวคิดใหม่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่นำหลักสูตรฐานสมรรถนะของโรงเรียนมาผนวกกับหลักสูตรแกนกลางปกติ โดยสอนทักษะชีวิตและทัศนคติที่ดีให้ผู้เรียนไปพร้อมกับด้านวิชาการ ทั้งการจัดการตนเองและการร่วมงานกับผู้อื่น...

ลดภาระงานครู ด้วยสกรัมบอร์ด

เมื่อโรงเรียนศรีรักษ์ราฎร์บำรุง โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดปราจีนบุรี คิดการใหญ่ อยากจะเป็นพื้นที่ให้นักเรียนได้ค้นพบความถนัดและศักยภาพในแบบของตัวเอง จึงจัดการเรียนการสอนวิชาเพิ่มเติมตามความสนใจของผู้เรียน แต่ความฝันในครั้งนี้ก็ไม่ง่าย เนื่องจากภาระงานของคุณครูไม่ได้มีแค่การสอน แต่ยังมีงานเอกสารและการจัดการต่างๆ ในโรงเรียนที่ต้องดูแล มิหนำซ้ำโรงเรียนก็กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายเรื่องช่องว่างระหว่างวัย เนื่องจากกว่าครึ่งเป็นครูรุ่นใหม่ที่เพิ่งจะบรรจุเข้ามาได้ไม่นาน โครงการโรงเรียนปล่อยแสงได้เข้าไปร่วมทำงานกับโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุงตลอดระยะเวลา 1 ปี เพื่อหาคำตอบว่าจะทำอย่างไรให้ภาระงานอื่นของคุณครูลดลง มีเวลาเต็มที่กับการสอนได้มากขึ้น รวมไปถึงก้าวข้ามความแตกต่างของช่วงวัย เพื่อทำให้โรงเรียนกลายเป็นพื้นที่แห่งความสุขของทั้งผู้เรียนและผู้สอนไปพร้อมกัน โรงเรียนของชุมชน “โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุงเป็นโรงเรียนมัธยมฯ ประจำตำบลแห่งเดียวในจังหวัดปราจีนบุรีที่สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด...

วัยรุ่นไทยกับการก้าวข้ามความกลัว และลุกขึ้นมาเป็นผู้นำ

สภานักเรียน หัวหน้าห้อง และผู้นำกิจกรรมต่างๆ คือข้อต่อสำคัญที่คอยเชื่อมประสานคนในโรงเรียนให้ทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น ฟังเสียงจากเพื่อนนักเรียนเพื่อนำไปแก้ไข รับโจทย์จากคุณครูไปดำเนินการให้แล้วเสร็จ และกล้าที่จะเดินตามความเชื่อมั่นในใจตนเอง ค่อยๆ สร้างความเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ให้โรงเรียนดีขึ้นในทุกวัน บทบาทพิเศษในโรงเรียนมาพร้อมกับโจทย์ที่ยากและท้าทายทั้งจากภายนอกและภายใน กลายเป็นคำถามของโครงการโรงเรียนปล่อยแสงว่า หากเราจะมีทาง “เรียนลัด” ให้ผู้นำเยาวชนเหล่านี้ได้เติบโตอย่างก้าวกระโดด บทเรียนนั้นจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร สร้างทีมด้วย 4 ทักษะชีวิต “เรารวมเอาเด็ก ม.ปลายสามโรงเรียนมาทำกิจกรรมร่วมกัน...

จินตนาการใหม่ของการศึกษาไทย ที่ออกแบบโดยนักเรียน

คงไม่สนุกแน่ถ้าให้เด็กๆ ผู้นำเยาวชนจากสามโรงเรียนที่ผ่านกิจกรรมการโค้ชสุดเข้มข้นตลอดสองวันครึ่งของโครงการโรงเรียนปล่อยแสง กลับไปโรงเรียนของตนเองแบบว่างเปล่า โจทย์การสร้างการเรียนรู้แก่เพื่อนในโรงเรียนจึงถูกมอบให้พวกเขานำไปขบคิดและปล่อยแสงความเป็นไปได้ที่ไม่รู้จบของผู้เรียนให้เห็น แกนนำจากโรงเรียนเขาน้อยวิทยาคม จังหวัดตราด ขอปิดโรงเรียนครึ่งวัน ชวนเพื่อนทั้งโรงเรียนมาจัดตลาดผลิตภัณฑ์พื้นบ้านในชุมชน เพื่อฝึกทักษะการเป็นผู้ประกอบการ    แกนนำจากโรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ จังหวัดหนองบัวลำภู ปลุกทักษะการบริหาร โดยเลือกจัดกิจกรรมใหญ่ส่งท้ายปีของโรงเรียน ซึ่งมีตั้งแต่งานเปิดท้ายขายของไปจนถึงการประกวดแฟชั่นโชว์  ขณะที่แกนนำสองโรงเรียนกำลังแสดงศักยภาพต่อหน้าคนนับร้อย แกนนำโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง จังหวัดปราจีนบุรี เลือกทำโปรเจกต์ในห้องเล็กๆ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมแค่เพียงไม่กี่คน  แต่เข้าไปทำงานในส่วนที่ลึกและเปราะบางที่สุดของเด็กวัยรุ่น มาดูกันว่าพวกเขาทำอะไรกัน ศิลปะสื่อความรู้สึก ...

การอ่านเปลี่ยนโลก

แม้จะผ่านพ้นสถานการณ์โควิด-19 ที่เด็กต้องกักตัวเรียนหนังสืออยู่บ้านมาได้หลายปีแล้ว แต่ผลกระทบจากช่วง 2 ปีนั้นยังไม่หายไปไหน คุณครูจากโครงการโรงเรียนปล่อยแสงหลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า หลังกลับมาเรียนที่โรงเรียนอีกครั้ง เด็กหลายคนมีปัญหาเรื่องการอ่านเขียน หลายคนมีพัฒนาการล่าช้า และหลายคนไม่สนใจการเรียนรู้เหมือนเดิมเราจึงมาคุยกับพี่เจ-สุดใจ พรหมเกิด ประธานมูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน เพื่อหาคำตอบว่าผลกระทบที่สถานการณ์โควิด-19 เหลือทิ้งไว้ให้แก่เด็กนั้นร้ายแรงมากน้อยแค่ไหน และการอ่านจะช่วยฟื้นคืนการเรียนรู้ที่หล่นหายไปได้อย่างไร 2 ปีที่หล่นหาย จากเด็กที่เคยเรียนอยู่ชั้นอนุบาล 1 ต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน 2...

ชวนเด็กให้อ่านได้ และเขียนดี ไม่ใช่เรื่องยาก

เมื่อการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของเด็กกลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับคุณครูในยุคหลังโควิด-19 โครงการโรงเรียนปล่อยแสงจึงร่วมกับมูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ชวนคุณครูมาเรียนรู้ร่วมกับวิทยากรด้านการอ่านเขียนที่มีชื่อเสียงสองท่าน ว่ากิจกรรมแบบไหนที่จะทำให้การฝึกอ่านฝึกเขียนกลายเป็นเรื่องสนุก และฟื้นทักษะทางภาษาที่หล่นหายไป เพื่อให้เด็กกลับมาตามทันพัฒนาการที่ควรจะเป็นได้ในเร็ววัน  ครูอ่านให้ฟัง เด็กก็อ่านได้  “ปกติการสอนของคุณครูจะตั้งเป้าไว้เลยว่าจะสอนอะไรให้แก่เด็ก แล้วครูก็เลือกหนังสือที่ถูกใจครู มาเล่าให้เขาฟัง แต่ช่วงเวลาแห่งการอ่านก็ควรจะสนุกสำหรับเด็กสิ  วันนี้เราเลยเริ่มจากชวนให้คุณครูคิดว่า เด็กชอบอะไร แล้วจะเลือกหนังสือที่ตรงกับความชอบของเขาได้ไหม” ครู “แต้ว” ระพีพรรณ พัฒนาเวช นักเขียนนิทานเด็ก วิทยากรของโครงการเล่าว่า...

ประกาศรายชื่อผู้ผ่านเข้ารอบสัมภาษณ์ ก่อการครู รุ่น 6

📌ตรวจสอบรายชื่อ Google sheet : https://bit.ly/3Wf4Ewh 💭ลิงก์เข้าร่วมสัมภาษณ์กลุ่ม (zoom)  จะส่งให้อีกครั้งทางอีเมลก่อนวันสัมภาษณ์ 3 วัน  (หากไม่ได้รับกรุณาติดต่อโครงการ) . ❓หากไม่สะดวกเข้าร่วมสัมภาษณ์ตามวัน/เวลาดังกล่าว  กรุณาติดต่อโครงการเพื่อเปลี่ยนวันสัมภาษณ์

การศึกษาไทยไม่ไร้ความหวัง

จะดีแค่ไหนหากเมื่อเราหมดไฟแล้วยังมี “พื้นที่” เยียวยาเติมพลัง มีผองเพื่อนผู้ประสบชะตากรรมเดียวกันคอยหนุนเสริมเพิ่มกำลังใจ มีชุมชนที่ช่วยให้เราเริ่มต้นและร่วมสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ร่วมกัน  โครงการโรงเรียนปล่อยแสงกำลังทำหน้าที่เป็นพื้นที่นั้น ให้กับครู ผู้อำนวยการโรงเรียน และโรงเรียนหลากหลาย เพื่อร่วมกันสร้างภาพฝันของระบบการศึกษาที่ดีให้กลายเป็นจริง  บนถนนสู่การเปลี่ยนแปลงที่เคลื่อนไปอย่างช้าๆ ขอชวนทุกคนมาอ่านมุมมองและความหวังของทีมบริหารโครงการโรงเรียนปล่อยแสง ผู้อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนระบบนิเวศของโรงเรียนและระบบการศึกษาไปพร้อมกัน  รศ.ดร. อนุชาติ พวงสำลี, ผศ.ดร. อดิศร จันทรสุข, อาจารย์อธิษฐาน์...

ความท้าทายและการไปให้ถึงจุดหมายของ “โรงเรียนปล่อยแสง”

โครงการโรงเรียนปล่อยแสงมีเป้าหมายหลัก คือการสร้างนิเวศการเรียนรู้ที่มีความสุขและเปี่ยมความหมาย         ผ่านการทำงานร่วมกันระหว่างครูและผู้บริหารโรงเรียน            อาจารย์อธิษฐาน์ คงทรัพย์ ผู้อำนวยการโครงการโรงเรียนปล่อยแสง เล่าถึง 3 ความท้าทายที่โครงการฯ พยายามชี้ชวนให้ “ครูแกนนำ” และ “ครูก่อการใหญ่” หรือบรรดาครูและผู้บริหารโรงเรียนที่เข้าร่วมมองเห็นและขับเคลื่อนร่วมกัน คือ       ...