Korkankru

เนรมิตห้องเรียนสร้างสรรค์ ด้วยนิทานและกิจกรรมสร้างปฏิสัมพันธ์

‘นิทาน’ คือเรื่องราวเสริมสร้างจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ สามารถเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาสมองและสติปัญญา เนื่องจากขณะที่เด็กๆ ตั้งอกตั้งใจฟังนิทาน จะต้องใช้ทั้งความคิด จินตนาการ รวมไปถึงการใช้สมาธิจดจ่อ เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กทั้งสิ้น หนังสือนิทานสำหรับเด็กจำเป็นต้องมีการเล่าเรื่องที่ง่าย ไม่ซับซ้อน และมีภาพประกอบโดดเด่น สิ่งที่หยิบจับมาเล่าอาจเป็นเรื่องใกล้ตัว การเล่าเรื่องต้องใช้คำน้อยแต่สื่อความหมายชัดเจน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับแต่ละช่วงวัยของเด็กอีกด้วย เลือกนิทานให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงอายุ ช่วงวัยที่มีพัฒนาการสูงสุดในชีวิตทุกด้านอยู่ในช่วงวัยแรกเกิดถึง 6 ปี หากได้รับการกระตุ้น...

โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา จ.นครสวรรค์ และ จ.ตรัง : สร้าง “นิเวศการเรียนรู้” สู่ห้องเรียนที่มีความสุขและมีความหมาย

หากต้องการเปลี่ยนแปลงการศึกษา ต้องเริ่มต้นที่ใคร? คำตอบแรกที่ขึ้นมาในหัวของแต่ละท่านอาจแตกต่างกัน บ้างอาจตอบว่าต้องเริ่มต้นที่ครู บ้างอาจตอบว่าคงต้องเริ่มเปลี่ยนแปลงจากระบบก่อน ทุกท่านอาจลองเก็บคำตอบนั้นไว้ในใจ เพราะในบทความนี้จะพาไปชมนิทรรศการจากโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา จ.นครสวรรค์ และ จ.ตรัง ณ งาน บัวหลวงก่อการครู: เวทีเบิ่งแงงการศึกษาอุดรบ้านเฮา จ.อุดรธานี ในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2566 นิทรรศการสะท้อนเสียงของ...

รับฟังด้วยหัวใจ สร้างพื้นที่ปลอดภัยด้วยการฟัง

ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเติบโตสู่วัยรุ่น หลานสาววัย 10 ปี เริ่มปลีกตัวห่างจากครอบครัว ขีดเส้นแบ่งเขตส่วนตัวไม่ให้ใครกล้ำกราย ความเป็นห่วงที่เกิดขึ้นในใจของป้า จึงทำให้ พี่เช่ (ศุภจิต สิงหพงษ์) เริ่มสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากการฟังของตัวเอง เพื่อเป็นเพื่อน เป็นป้า เป็นที่ปรึกษา ในยามที่ต้องการ พี่เช่ ช่างภาพมือดีประจำโครงการ ถ่ายทอดเรื่องราวการฟังที่เปลี่ยนไป จากการสังเกตการณ์ในระหว่างวิชาทักษะการโค้ชเพื่อครู (หนึ่งในการอบรมโครงการก่อการครู...

ฟังอารมณ์ ถามความรู้สึก ทักษะการโค้ชเพื่อดูแลใจผู้เรียน โรงเรียนสุจิปุลิ

ปัญหาที่เด็กประสบพบเจอนั้นมีมากมาย ทะเลาะกับเพื่อนกับแฟน พ่อแม่หย่าร้าง ไม่มีเงินมาโรงเรียน หรือเรียนได้ไม่ดี บางครั้งก็ไม่ใช่แค่เรื่องวิชาการหรือสมอง แต่มีมิติด้านจิตวิทยาแฝงอยู่ ผู้เรียนอาจรู้สึกด้อย เปรียบเทียบตนเองกับคนอื่นตลอดตัวเอง มองไม่เห็นศักยภาพที่ตนมี หลากหลายและกว้างใหญ่กว่าเนื้อหาที่ครูสอน คือชีวิตจริงในทุกวันของผู้เรียน  ทำอย่างไรครูจะเท่าทันและมองเห็นมิติต่างๆ ในชีวิตของผู้เรียนได้มากขึ้น  เพื่อตอบคำถามนี้ โครงการโรงเรียนปล่อยแสงชวนอาจารย์ “เปิ้ล” - อธิษฐาน์ คงทรัพย์ และอาจารย์...

นพลักษณ์ รู้ลักษณ์ รู้ตน โรงเรียนเขาน้อยวิทยาคม

“บนโต๊ะข้างๆ มีภาพที่วางเรียงไว้ ในรอบแรกขอเชิญอาจารย์ทุกคนเลือกภาพที่แทนความเป็นตัวเรามากที่สุดมา 1 ใบ เลือกภาพที่สะท้อนถึงบุคลิกภาพหรือนิสัย ไม่ใช่สิ่งที่เราอยากเป็น แล้วเราจะให้เล่าทีละคนว่าทำไมถึงเลือกรูปภาพนั้นมาแทนความเป็นตัวเอง” ครูผู้เข้าร่วมค่อยๆ เพ่งพินิจรูปภาพหลากหลายบนโต๊ะ ก่อนจะเลือกหยิบภาพที่ตรงใจที่สุด  บางคนเลือกภาพที่เหมือนมองจากมุมสูง สะท้อนความเป็นคนกล้าคิดกล้าทำ บางคนเลือกภาพวิวทิวทัศน์เพราะให้ความสำคัญกับความสบายใจ บางคนเลือกภาพเด็กหน้าตาสดใส เพราะอยากให้ทุกคนมีรอยยิ้มและความสุขร่วมกัน กิจกรรมรอบที่ 2 เปลี่ยนจากรูปภาพ เป็นการ์ดคำที่สื่อถึงตนเอง บางคนเลือกคำว่า...

ฝึกวิชา-ค้นหาตัวเอง ไปกับ ‘นิเวศการเรียนรู้’ ในอ้อมกอดชุมชน

“ต้องให้เด็กหาตัวเองให้เจอ ให้เขารู้ว่าตัวเองชอบด้านไหน” หากการศึกษาคือเส้นทางของการสร้างอนาคต การค้นหาและส่งเสริมศักยภาพตนเองก็เป็นขั้นตอนสำคัญที่ขาดไปไม่ได้สำหรับ ชูศักรวิชญ์ แสนปัญญา หรือ ‘ผอ.ชู’ ผู้อำนวยการใจดีแห่งโรงเรียนบ้านกุดขนวน จังหวัดอุดรธานี โรงเรียนบ้านกุดขนวนเปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมต้น นับเป็นช่วงวัยแห่งการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะพื้นฐานที่จำเป็นหลาย ๆ อย่าง ซึ่งเป็นโจทย์สำคัญของครูผู้สอนที่จะต้องออกแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแรงให้กับเด็กวัยกำลังโต และเป็นความท้าทายของผู้อำนวยการอย่าง ‘ผอ.ชู’ กว่า 11 ปีของการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ผอ.ชู...

หนึ่งคำตอบ ล้านคำถาม ‘ห้องเรียนสร้างสรรค์’ ที่เด็กมีส่วนร่วมออกแบบได้

“ในวิชาวิทยาศาสตร์ เด็กจะต้องลงมือทำเอง ครูจะไม่บอกให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่จะเป็นคนคอยชี้แนะ ให้เด็กออกแบบการทดลองว่าเขาจะแก้ปัญหานั้นอย่างไร” วไลพรรณ ไชยเวช ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์และการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองแวง จังหวัดอุดรธานี เล่าถึงการสร้าง ‘ห้องเรียนสร้างสรรค์’ ที่กระตุ้นให้เด็กนักเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบ อันสอดคล้องกับหลักการ Active Learning ครูวไลพรรณบรรจุเป็นครูเมื่อปี 2544 นับถึงปัจจุบันก็เป็นเวลา 22...

4 รูปแบบ ก้าวสู่ Team Teaching สอนอย่างไรให้เหมาะกับเด็กและห้องเรียน

จำได้ว่าครั้งหนึ่งสมัยเรียนอยู่ชั้นมัธยมต้น เราสอบวิชาคณิตศาสตร์ผ่าน เพราะคุณครูฝึกสอนคนหนึ่งคอยเดินเข้ามาอธิบายซ้ำในจุดที่ไม่เข้าใจ เรารู้สึกมีความสุขในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และไม่ใช่แค่เราที่รู้สึก แต่เพื่อนหลายคนก็รู้สึกไม่ต่างกัน ราวกับว่าองค์ความรู้ที่โดยปกติจะหมุนวนอยู่แค่บริเวณหน้าชั้นเรียนได้แผ่ขยายทั่วถึงทั้งห้อง ยอมรับว่าช่วงนั้นบรรยากาศในชั้นเรียนดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่มีความกังวลว่าจะตามเนื้อหาที่คุณครูสอนไม่ทัน หากไม่เข้าใจในจุดไหน ก็มีคุณครูฝึกสอนที่พร้อมจะเข้ามาอธิบายเพิ่มเติมในจุดนั้นอยู่เสมอ  จากการเรียนการสอนในรูปแบบเดิม ๆ ที่หลายคนคุ้นชิน คือ มีคุณครูเป็นผู้บรรยายหน้าชั้น 1 คน ต่อนักเรียน 25-30 คน...

ครูตุ๊ก โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ กับทักษะ “โค้ชชิ่ง” ที่เปลี่ยนห้องเรียนให้ดีขึ้นด้วยการ “ฟัง”

“นักเรียนทุกคนทำความเคารพ” “สวัสดีค่ะ สวัสดีครับคุณครู” “นั่งลงได้” “ขอบคุณค่ะ ขอบคุณครับคุณครู” ผ่านไปประมาณ 50 นาที เราและเพื่อนร่วมชั้นเรียนก็พากันลุกขึ้นแล้วพูดบทสนทนาข้างต้นอีกครั้ง ในสมัยที่ “ห้องเรียน” หาใช่สถานที่ที่ส่งเสียงได้ตามใจชอบ กระทั่งการถามหรือต่อบทสนทนากับ “คุณครู” ก็ดูเป็นเรื่องยาก ระหว่างเวลา 50 นาทีนั้น พวกเราถูกบังคับให้รับบทเป็น “ผู้รับฟัง”...

การศึกษาไทยในอุ้งมือของรัฐ เมื่ออำนาจนิยมไม่ยอมให้คนตั้งคำถาม

“ตั้งแต่โดนคดีมา ขึ้นศาลไปไม่รู้แล้วกี่รอบแล้ว มีช่วงหนึ่งผมทำงานพาร์ทไทม์ก็ต้องลางานก็เสียงานเสียการ เสียสุขภาพจิตด้วย” คือปากคำของ “เท็น” - ยศสุนทร รัตตประดิษฐ์ นักศึกษาสาขา Media Arts and Design คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้มีคดีความติดตัว เพราะทำกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งถือเป็นสถานการณ์รุนแรงที่เกิดกับคนที่ยังไม่จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ในประเทศที่มีค่านิยมว่านักเรียน/นักศึกษาควรมีหน้าที่เรียนอย่างเดียว อย่ายุ่งกับการเมือง...