Korkankru

บทความ / บทสัมภาษณ์

แนวคิดโรงเรียนร่วมพัฒนา

ข้อเสนอแนะ โดยศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช เป็น “ความจริง” ของระบบการศึกษาไทย ที่น่าเศร้าใจ และหากมองในมุมบวก ก็เป็นประเด็นที่สังคมไทยต้องกระตุ้นการเปลี่ยนใหญ่ (transformation) ของกระทรวงศึกษาธิการ ไม่เพียงแต่ทำงานตามคำสั่งของหน่วยงานเหนือ ถูกสะท้อนผ่านภาพการได้รับการปลูกฝังให้เป็นผู้รับคำสั่งที่ดี ไม่เป็น agency หรือผู้ที่ทำงานริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นที่ต้องการสำหรับการทำงานสร้างสรรค์ ในระบบที่ “สุดโหด” (wicked) อย่างระบบการศึกษา โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา...

แนวคิด Learning Organization: ขยายการเรียนรู้ข้ามขอบรั้วโรงเรียน

บทสะท้อนการเรียนรู้ โดยศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช เวทีเครือข่ายแสดงพลังสื่อสารสังคม โรงเรียนร่วมพัฒนา จังหวัดพิจิตร เป็นพื้นที่เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างเครือข่าย และภาคส่วนต่างๆ ในการร่วมกันพัฒนา นิเวศการเรียนรู้ที่มีความสุขและความหมาย ให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนในพื้นที่จังหวัดพิจิตร โดยคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิใจกระทิง ดำเนินโครงการ “นิเวศการเรียนรู้แห่งความสุข และความหมาย: การพัฒนาศักยภาพโรงเรียนร่วมพัฒนา จังหวัดพิจิตร” ตั้งแต่วันที่...

เด็กกลัวครู… ครูจะปกครองง่ายขึ้นจริงหรือ ?

เธอต้องทำแบบนี้… เธอต้องเรียนตามที่ฉันบอก…หากเธอไม่ทำเธอจะต้องถูกลงโทษ ไม้เรียวสัญลักษณ์ของห้องเรียนไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ไม้ชี้กระดานเครื่องมือที่ถูกประกอบสร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้ครูสามารถชี้จุดที่ตนต้องการให้ผู้เรียนสนใจในขณะนั้นได้ ทว่าไม้ชี้กระดานนั้นกลับถูกวัฒนธรรมการสร้างความกลัวเพื่อง่ายต่อการปกครองครอบงำจนมีวิวัฒนาการกลายเป็นไม้เรียวอาวุธคู่กาย หากใครกระทำผิดหรือไม่เข้าใจในเนื้อหา ไม้เรียวนี้จะถูกตีเข้าไปยังผู้เรียน จนกลายเป็นพฤติกรรมที่ถูกส่งต่อกันมาอย่างช้านาน ความรุนแรงที่ถูกซ่อนอยู่ใต้พรมระบบการศึกษา ภัยร้ายที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจ มณี อั่วหงวน หรือ “ครูน้อย” โรงเรียนวัดบ้านห้วยยาว จ.พิจิตร บอกเล่าประสบการณ์การใช้ความกลัวเป็นเครื่องมือในการควบคุมผู้เรียนตลอดชีวิตการเป็นครูร่วม 30 ปี จนได้รับฉายาลับหลังว่า “แม่เสือ”...

มหา’ลัยไทบ้าน ปี 2 #Mission To The Moon

.............ก่อการครู ชวนทำภารกิจพิชิตดวงจันทร์กับมหา’ลัยไทบ้าน ปี 2 #Mission To The Moon การศึกษาเชิงพื้นที่ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและปลดแอกการเรียนรู้จากรั้วโรงเรียนสู่การเรียนรู้จากชุมชน ผ่านอัลบั้มภาพชุด “Mission To The Moon : ภารกิจเที่ยว ทำ เล่น เรียน รู้...

ห้องเรียนแห่งความรู้ ห้องเรียนแห่งความรัก

ห้องเรียนทุกห้องจะมีแต่เสียงหัวเราะ ถ้าทั้งครูและนักเรียนเปิดใจคุยกัน ด้วยความเข้าใจถ้าโรงเรียนไหนอยากร่วมสร้างห้องเรียนแห่งรัก ลองฟังประสบการณ์จากครูโรงเรียนอุนบาลหนองหานวิทยายนที่ช่วยกันถอดบทเรียนเพื่อทำให้ทุกห้องเรียนเบ่งบานด้วยความรักและความเข้าใจ “มีนักเรียนคนหนึ่งเข้ามาใหม่เรียนตอนกลางเทอม เขาอ่านหนังสือไม่ออก เขียนหนังสือไม่ได้ พอเราพยายามกระตุ้นน้องเพื่อให้เรียนทันเพื่อน แต่เขากลับร้องไห้ ซึ่งเราก็ตกใจมาก เพราะไม่คิดว่า การถามว่า ทำไมไม่ส่งการบ้านจะทำให้เขาร้องไห้ หลังจากนั้นเราก็ใส่ใจและสังเกตเขาพฤติกรรมเขามากขึ้น” เป็นประสบการณ์ตรงของ “วิไลลักษณ์ รู้กิจ” หรือ ครูลิลลี่ ครูประจำชั้น ป.2...

ชุดภาพ จุดไฟในใจครูด้วยเวทมนตร์แห่งรัก

ท่ามกลางต้นไม้ร่มครื้มในโรงแรมฟ้าหลวงรีสอร์ท จังหวัดอุดรธานี บรรดาครูโรงเรียนอนุบาลหนองหานวิทยายนกว่า 40 ชีวิตนัดหมายกันที่นี่เพื่อถอดบทเรียน พร้อมเติมพลังให้กันและกันเพื่อพัฒนาห้องเรียนด้วยหลักสูตรใหม่ที่ตัวแทนครูบางคนได้เข้าเรียนรู้หลักสูตร “บัวหลวงก่อการครู” ซึ่งเป็นหลักสูตรพัฒนาศักยภาพของครูเพื่อเติมเต็มความรู้ให้กับเหล่าอนาคตของชาติ  ก่อนเริ่มจุดไฟในใจครู ก่อนจะเริ่มอบรมปฏิบัติการ “จุดไฟในใจครู สร้างการเรียนรู้เปี่ยมพลัง”  ศรีสมร สนทา ผู้อำนวยโรงเรียนอนุบาลหนองหานวิทยายน จ.อุดรธานี  ได้ปลุกไฟในตัวครูรุ่นลูก มีใจความสำคัญว่า ก่อนจะมีการประชุมวันนี้ พวกเราต้องเลื่อนแล้วเลื่อนอีก ทั้งจากเหตุการณ์โควิดบ้าง...

มายาคติว่าด้วยความสำเร็จ: การสอบเข้ามหาวิทยาลัยอาจไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต

ภาพ: เฉลิมพล ปัณณานวาสกุล เคยสังเกตไหม เวลานั่งรถผ่านหน้าโรงเรียนมัธยม ไม่ว่าในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด ที่ตลอดแนวรั้วดูเหมือนจะถูกเนรมิตให้เป็นพื้นที่โฆษณาขนาดมหึมา มีแผ่นป้ายไวนีลติดประกาศเชิดชูนักเรียนที่ได้รับรางวัลต่างๆ นานา ขนาบด้วยภาพนักเรียนชั้น ม.6 ที่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยต่างๆ สร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียน หากมองเข้าไปถึงความรู้สึกของเด็ก อาจมีบางคำถามผุดขึ้นตามมาว่า เด็กเหล่านั้นคิดอย่างไรกับการที่รูปของเขาและเธอถูกแปะไว้เต็มกำแพงโรงเรียนด้วยความชื่นชมของผู้ใหญ่ กับอีกมุม แล้วเด็กที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ล่ะ จะรู้สึกอย่างไรกับเรื่องนี้? นั่นคือข้อสังเกตประการหนึ่ง...

ภัสรัญ สระทองนวล: “วิชาใจ สำคัญไม่น้อยกว่าวิชาการ”

เริ่มต้นจากการเป็นครูแนะแนวไฟแรง งัดทุกกลวิชามาถ่ายทอดสู่นักเรียน เป็นครูที่เด็กๆ วิ่งเข้าหา ด้วยท่าทีเป็นกันเอง เปิดเผย รับฟัง  ทำให้ในเวลาไม่นานนัก ครูแก้ว - ภัสรัญ สระทองนวล ครูแนะแนวแห่งโรงเรียนกำแพงแสนวิทยา ก็กลายเป็นขวัญใจของเด็กๆ โดยปริยาย งานสอนไม่บกพร่อง งานกิจกรรมก็ไม่แพ้กัน  ครูแก้วปลุกปั้นทีมวอลเล่ย์บอลโรงเรียนในฐานะโค้ชครั้งแรก ก็หอบรางวัลที่ 3 ของจังหวัดมาประดับโรงเรียน...

กริยาสามช่องของการศึกษา: อดีตที่เคยชิน ปัจจุบันอันเจ็บปวด และอนาคตที่ใฝ่ฝัน

กล่าวกันอย่างถึงที่สุด ‘ครู’ ไม่ใช่อาชีพอันพึงปรารถนาในประเทศนี้อีกต่อไปแล้ว นับกันแค่ช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา พาดหัวข่าว ‘ครูประกาศลาออก’ ปรากฏขึ้นเป็นระยะๆ การลาออกไม่ใช่เรื่องแปลก แต่เหตุผลของการเลือกที่จะลาออกจากอาชีพที่ใครหลายคนบากบั่นร่ำเรียนมาถึง 4 ปี หรือมากกว่านั้นนี่สิน่าสนใจ ว่านอกจากจะสะท้อนโครงสร้างของระบบการศึกษาของประเทศได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังสะท้อนถึงชีวิตความเป็นอยู่ของนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา ไปจนถึงทำนายอนาคตของประเทศจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ไม่น้อยก็มาก ‘ภาระงานของครูที่มากเกินไป, ค่าตอบแทนที่น้อยเกินไป, ระบบที่ขาดความเข้าใจในสิทธิและสวัสดิภาพในการทำงาน, ครูถูกผลักให้ต้องรับผิดชอบปัญหาที่เกิดขึ้น, อำนาจรวมศูนย์ โรงเรียนไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ,...

โคกสลุงกับพังงา: ไม่มีฮีโร่ มีแต่การ ‘นำร่วม’ ของคนตัวเล็กตัวน้อย

พังงาแห่งความสุข ท่ามกลางผู้คนที่ผ่านพบในสถานการณ์ยุ่งเหยิงและโกลาหลหลังเหตุการณ์สึนามิ ภัยพิบัติในครั้งนั้นได้สร้างคนทำงานภาคประชาสังคมและผู้นำมากมายในจังหวัดพังงา ทุกข์ที่มีร่วมกันได้เรียงร้อยการทำงานให้พวกเขาที่เคยกระจัดกระจายไปคนละทิศ สู่การผนึกกำลังเป็นกลุ่มก้อนใหญ่ เพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกันคือ ‘รวมคนสร้างเมืองแห่งความสุข’ ชุมชนวัฒนธรรมไทยเบิ้งโคกสลุง ความโดดเด่นของชุมชนแห่งนี้คือ ความเข้มแข็งของชุมชนในการใช้เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยเบิ้ง ในการรับมือกับวิกฤติการวางผังเมือง ทำให้ตำบลโคกสลุงรอดพ้นจากการเป็นพื้นที่เขตอุตสาหกรรม สถาบันไทยเบิ้งโคกสลุงเพื่อการพัฒนาจึงถูกตั้งขึ้นเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน พัฒนาภูมิปัญหาและวัฒนธรรม ไปจนถึงการสร้างชุมชนให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้ต่อไป โดยสังเขป สองพื้นที่ข้างต้น คือพื้นที่การวิจัยในหัวข้อ ‘การถอดบทเรียนปฏิบัติการเชิงพื้นที่ภายใต้แนวคิดเรื่องการนำร่วมกรณีศึกษา...