Korkankru

ห้องเรียนเวทมนตร์ ออกแบบห้องเรียนให้สนุกด้วยเกมการเรียนรู้

“ตอนแรกที่เริ่มสอนวิชาภาษอังกฤษ เด็ก ๆ ไม่ค่อยกล้าพูด ไม่กล้าแสดงออกเลย”  นี่คือโจทย์แรกของการเป็นครู สำหรับ ธนพัฒน์ พิมพ์พรพิรมย์ หรือ ‘ครูน็อต’ ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านนาดีสร้างบง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเล่าย้อนกลับไปในช่วงที่เขาได้รับการบรรจุเป็นครูผู้ช่วยใหม่ ๆ เมื่อ 2 ปีก่อน “สิ่งที่เราเรียนจากมหาวิทยาลัยกับการทำงานจริงค่อนข้างแตกต่างกัน...

ประกาศผลการคัดเลือกครูแกนนำก่อการครู รุ่น 5

โครงการก่อการครูขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา เปลี่ยนแปลงการศึกษาไปกับพวกเรา  ‘โครงการก่อการครู: ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้’โครงการฯ ขอประกาศรายชื่อครูผู้ผ่านการคัดเลือกในการเข้าร่วมขบวนการ ก่อการครู รุ่น 5 จำนวน 105 ท่าน 📌ตรวจสอบรายชื่อช่องทางอื่น google sheet : ประกาศผลการคัดเลือกครูแกนนำก่อการครูรุ่น 5 หากยังไม่ได้รับอีเมลประกาศผลและยืนยันการเข้าร่วม ติดต่อผู้ประสานงาน...

การดูแลเด็ก Dyslexia จากห้องเรียนสู่พื้นที่ในสังคม 

ภาษา ถือเป็น เครื่องมือการเรียนรู้  ที่ทำให้เด็กกลุ่มหนึ่งกลายเป็น เด็กเรียนรู้ช้า ไม่สามารถเข้าใจวิธีการอ่านและการเขียน เรียกว่า เด็กที่มีความบกพร่องด้านการอ่าน “dyslexia”  Dyslexia  (ดิสเล็กเซีย) ชื่อเรียกแทนความบกพร่องด้านการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียน อันเกิดจากความผิดปกติของสมองที่ใช้ในการเรียนรู้ ทำให้ไม่สามารถสะกดคำหรือเข้าใจวิธีการอ่านเขียน เพราะไม่สามารถเชื่อมโยงระหว่างตัวอักษร เสียง และภาษาได้ เมื่อก้าวเข้าสู่ระบบการศึกษา จึงทำให้ห้องแห่งการเรียนรู้ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน ให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ที่หลากหลาย...

นิเวศที่ฉันได้เลือกที่จะเติบโต

ในเดือนเมษายน 2566 ที่ผ่านมา โครงการโรงเรียนปล่อยแสง และเครือข่าย ได้จัดงาน เวทีปล่อยแสง : สร้างการศึกษาไทยให้มีอนาคต เพื่อนำเสนอวิธีคิด การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์โลกอนาคต ผ่านผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ตั้งแต่ ตัวแทนจากศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน อาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิจัยอิสระ ผู้อำนวยการโรงเรียน และครูผู้สอน ในรูปแบบของงานเสวนา หนึ่งในผู้ที่ขึ้นไปร่วมปล่อยแสงบนเวทีแห่งนี้คือ นางสาวรัตนาภรณ์...

Active Learning ประตูการเรียนรู้พาเด็กสู่ชุมชน โรงเรียนบ้านกาเนะ

“วันนี้เรามีตัวอย่างของดีในชุมชน 3 อย่าง มีกาแฟพื้นเมือง โรตีกาปาย และขนมรังต่อ เราจะนำของดีทั้งสามมาใช้จัดการเรียนการสอนอย่างไรได้บ้าง” วิทยากรให้คุณครูแบ่งกลุ่มตามความสนใจ ระดมความคิดช่วยกันว่าหากจะต้องขายของให้ผู้ที่ไม่เคยรู้จัก จะแนะนำอย่างไรให้คนสนใจ “โรตีกาปาย ชาวจีนอพยพเอามาขาย รสชาติหอมอร่อย แป้งกรอบสะอาดบริสุทธิ์ กินกับข้าวโพดก็อร่อยนะคะ” คุณครูกลุ่มโรตีขายก่อน “บ้านเราภาคใต้เรียกขนมรังต่อ ภาคกลางเรียกขนมดอกจอก ส่วนผสมครบ 5 หมู่...

หลากวิธีเสริมพลังครู เมื่อในชั่วโมงเรียนไม่ได้มีครูคนเดียวในห้อง โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง

โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง จังหวัดปราจีนบุรี โรงเรียนประจำชุมชน ตั้งใจพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล เน้นบูรณาการกับการสร้างเสริมทักษะอาชีพที่ผู้เรียนสนใจ  แต่ความท้าทายที่กำลังเผชิญ คือข้อจำกัดด้านความเชี่ยวชาญของครูที่ต้องเปิดสอนวิชาใหม่ๆ หลายวิชามารองรับ จึงเป็นโจทย์หนึ่งที่โครงการโรงเรียนปล่อยแสงพยายามเข้าไปช่วยแต่ละโรงเรียนพัฒนานิเวศการเรียนรู้ที่มีสภาพแวดล้อมและบริบทของชุมชนแตกต่างกันไป วันที่โครงการฯ เดินทางมาถึงโรงเรียนศรีรักษ์ฯ วิทยากรพบว่าคุณครูไม่ได้ขาดแคลนเครื่องมือออกแบบการสอน แต่อาจต้องการแรงเสริม เปิดพื้นที่ทดลองบางอย่างเพื่อสร้างความมั่นใจ และเปิดมุมมองการทำงานใหม่ๆ ผ่านการสอนร่วมกันเป็นทีม หรือ Team teaching ที่เน้นการบูรณาการวิชาต่างๆ เข้าด้วยกัน...

ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกรอบใบสมัคร และมีสิทธิ์สัมภาษณ์ ก่อการครูรุ่น 5

ขอบคุณผู้ร่วมก่อการทุกท่านที่ให้ความสนใจ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาการศึกษาไปกับเรา โครงการก่อการครู: ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ โครงการฯ ขอประกาศรายชื่อครูผู้ผ่านการคัดเลือกรอบใบสมัคร และมีสิทธิ์สัมภาษณ์ ก่อการครูรุ่น 5 จำนวน 114 ท่าน

ฟื้นคืนบรรยากาศห้องเรียนด้วยการเล่น โรงเรียนศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์

โรงเรียนศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์ จังหวัดสงขลา มีเป้าหมายการจัดกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning เพื่อบ่มเพาะเด็กให้เติบโตเต็มศักยภาพที่เขาพึงเป็น แต่หลังจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยาวนาน บรรยากาศในห้องเรียนก็ไม่สดใสเหมือนเดิม  ทำอย่างไรจะฟื้นคืนบรรยากาศการเรียนรู้ กระตุ้นทั้งครูและผู้เรียนให้กลับมาตื่นตัวกับกิจกรรมตรงหน้า ใช้สื่อออนไลน์ในฐานะเครื่องมือการเรียนรู้อย่างเข้าใจแทนที่จะปล่อยให้เป็นปัญหา เพื่อตอบคำถามนี้เราจึงชวน “เต้” - ผดุงพงศ์ ประสาททอง กับ “ขวัญ” - ขวัญหทัย...

หนังสือ ย้อนแย้ง แยบยล บทวิเคราะห์ประเด็นการศึกษาไทย

ก่อการครูชวนผู้อ่านกลับมาตั้งคำถามเกี่ยวกับมายาคติที่อยู่ในวิธีคิด การปฏิบัติ ปะทะกันในเชิงความคิด จากมายาคติที่ยึดถือหลากหลาย ฝั่งแฝงความเชื่อได้อย่างแยบยลจนไม่ทันรู้ตัว หนังสือย้อนแย้ง แยบยล บทวิเคราะห์ประเด็นการศึกษาไทยในโครงการวิจัยการสำรวจและรื้อถอนมายาคติทางการศึกษาในสังคมไทย ปีที่ 2 คำสำคัญสองคำ นั่นคือ ‘ย้อนแย้ง’ – ‘แยบยล’ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงธรรมชาติของมายาคติที่แฝงฝังอยู่ในวิธีคิดและวิถีปฏิบัติของผู้คน ซึ่งมีทั้ง ความย้อนแย้ง ไม่ลงรอยระหว่างชุดวิธีคิดที่หลากหลายภายใต้ประเด็นทางการศึกษาในเรื่องเดียวกัน และมี ความแยบยล...

กิจกรรม Empowerment เรียนรู้เสริมพลังใจแก่กันที่โรงเรียนสุจิปุลิ

เราจะใช้ลมหายใจของตัวเราเองในการเล่นเกมนี้ เมื่อคุณยืนอยู่ประจำจุดคุณจะหายใจเท่าไหร่ก็ได้ เพราะนี่เป็นบ้านแห่งลมหายใจของคุณ ภารกิจคือการออกไปคว้าจับเทพีแห่งสุขภาพ ความสําเร็จ และความรัก ที่เดินวนอยู่นอกบ้าน  เมื่อออกจากบ้านทุกคนจะต้องกลั้นลมหายใจ ใครไม่ไหวก็ให้รีบกลับมา ลองทบทวนตัวเองว่าในบรรดาเทพีทั้งสาม ตอนนี้เรากำลังต้องการสิ่งไหนมากที่สุด  เริ่มค่ะ! อาจารย์น้อง - ธนัญธร เปรมใจชื่น วิทยากรประจำกิจกรรมของโครงการโรงเรียนปล่อยแสง ให้สัญญาเริ่มต้นเกมแรกของวัน นี่คือกิจกรรมเกม “บ้านแห่งสายลม” ในกิจกรรมการอบรม...