Korkankru

บทความ

การดูแลเด็ก Dyslexia จากห้องเรียนสู่พื้นที่ในสังคม 

ภาษา ถือเป็น เครื่องมือการเรียนรู้  ที่ทำให้เด็กกลุ่มหนึ่งกลายเป็น เด็กเรียนรู้ช้า ไม่สามารถเข้าใจวิธีการอ่านและการเขียน เรียกว่า เด็กที่มีความบกพร่องด้านการอ่าน “dyslexia”  Dyslexia  (ดิสเล็กเซีย) ชื่อเรียกแทนความบกพร่องด้านการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียน อันเกิดจากความผิดปกติของสมองที่ใช้ในการเรียนรู้ ทำให้ไม่สามารถสะกดคำหรือเข้าใจวิธีการอ่านเขียน เพราะไม่สามารถเชื่อมโยงระหว่างตัวอักษร เสียง และภาษาได้ เมื่อก้าวเข้าสู่ระบบการศึกษา จึงทำให้ห้องแห่งการเรียนรู้ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน ให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ที่หลากหลาย...

ยงยุทธ ศรีจันทร์ : สร้างพื้นที่ปลอดภัยในห้องเรียน รับฟังโดยไม่ตัดสิน เข้าใจเด็กในทุกมิติ

“เรารับฟังเด็กมากขึ้น ทำความเข้าใจเด็กมากขึ้น ฟังโดยที่ไม่จับผิดตัวเด็ก และเชื่อว่าเด็กสามารถตัดสินใจเลือกได้ด้วยตัวเอง” ผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านนาคำหลวง ตำบลนาข่า อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี เล่าให้ฟังว่า หลังจากจบการอบรม ‘โครงการบัวหลวงก่อการครู’ ทำให้ตนเองมองเด็กเปลี่ยนไปอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน จากครูที่ต้องการให้เด็กได้รับความรู้ตามมาตรฐานตัวชี้วัด คะยั้นคะยอให้เด็กท่องจำเนื้อหาโดยไม่ใส่ใจพื้นฐานของเด็กแต่ละคนเท่าที่ควร ‘ทักษะการโค้ช’ จากโครงการฯ ทำให้ครูกิ๊ฟมีมุมมองใหม่ต่อเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม และหันไปทำงานร่วมกับครอบครัวและชุมชนมากขึ้น...

หันหลังให้กับไม้เรียว ด้วยจิตวิทยาเชิงบวกในห้องเรียน

“ถ้าไม่ทำการบ้าน จะโดนตี” “ถ้าไม่อ่านหนังสือ เธอจะสอบตก” “ถ้าทำคะแนนไม่ดี เธอจะไปแข่งกับใครได้” “ถ้าทำงานไม่เสร็จ ห้ามออกไปเล่นเด็ดขาด นั่งทำไปจนกว่าจะเสร็จ” การเรียนรู้ที่เต็มไปด้วยบรรยากาศเหล่านี้ นอกจากไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกกับการเรียนหรือเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ ซ้ำร้าย แนวทางเช่นนี้อาจให้ผลในทางตรงข้าม และลงเอยด้วยความกลัว ความกังวลของผู้เรียน จากการที่ชีวิตถูกฝึกว่าห้ามผิดพลาดตลอดเวลา เช่นนี้แล้ว ห้องเรียนจึงไม่ใช่สถานที่อันพึงปรารถนาอีกต่อไป ‘ห้องเรียนจิตวิทยาเชิงบวก’ โครงการบัวหลวงก่อการครู โดยการดูแลของ...

‘กล้าที่จะไม่สอน’ สร้างห้องเรียนที่ปราศจากความกลัว

“เสรีภาพไม่ใช่การตามใจ และวินัยที่เกิดจากการใช้อำนาจบังคับก็ไม่ยั่งยืน”  คำพูดของ พฤหัส พหลกุลบุตร หรือ ‘อาจารย์ก๋วย’ จากมูลนิธิสื่อชาวบ้าน (กลุ่มละครมะขามป้อม) ได้กล่าวไว้บนเวทีการเรียนรู้ ‘โครงการบัวหลวงก่อการครู’ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565 ณ จังหวัดอุดรธานี ได้สะท้อนให้เห็นถึงหัวใจสำคัญของปัญหาในระบบการศึกษาไทยมาตลอด หัวใจที่ทำให้เห็นว่าการศึกษาที่ดีไม่ควรเกิดจากการบีบบังคับ และห้องเรียนที่ดีควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก  พฤหัส...

“เกม” เปลี่ยนห้องเรียน ชั่วโมงความสุขของนักเรียนและครูเก๋ โรงเรียนมักกะสันพิทยา

ร่วมเรียน ร่วมเล่น ในห้องเรียนวิชาเคมีของ ‘ครูเก๋’ สุดารัตน์ ประกอบมัย โรงเรียนมักกะสันพิทยา ที่เธอพัฒนาสื่อการสอนมาเป็นเครื่องมือเปลี่ยนกระบวนการในคาบเรียน เปิดพื้นที่ให้นักเรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้อย่างมีความสุข ได้ทั้งความรู้ ความสนุก ความเข้าใจในตนเองและผู้อื่น “เดินสามช่อง ไป H ไฮโดรเจน!”“ติ๊ง~” เสียงกดกระดิ่งดังขึ้น นักเรียนนั่งล้อมวงเป็นกลุ่มเล็กๆ ทอยลูกเต๋า เดินหมาก จั่วการ์ดสีสันสดใส...

แนวคิดโรงเรียนร่วมพัฒนา

ข้อเสนอแนะ โดยศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช เป็น “ความจริง” ของระบบการศึกษาไทย ที่น่าเศร้าใจ และหากมองในมุมบวก ก็เป็นประเด็นที่สังคมไทยต้องกระตุ้นการเปลี่ยนใหญ่ (transformation) ของกระทรวงศึกษาธิการ ไม่เพียงแต่ทำงานตามคำสั่งของหน่วยงานเหนือ ถูกสะท้อนผ่านภาพการได้รับการปลูกฝังให้เป็นผู้รับคำสั่งที่ดี ไม่เป็น agency หรือผู้ที่ทำงานริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นที่ต้องการสำหรับการทำงานสร้างสรรค์ ในระบบที่ “สุดโหด” (wicked) อย่างระบบการศึกษา โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา...

แนวคิด Learning Organization: ขยายการเรียนรู้ข้ามขอบรั้วโรงเรียน

บทสะท้อนการเรียนรู้ โดยศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช เวทีเครือข่ายแสดงพลังสื่อสารสังคม โรงเรียนร่วมพัฒนา จังหวัดพิจิตร เป็นพื้นที่เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างเครือข่าย และภาคส่วนต่างๆ ในการร่วมกันพัฒนา นิเวศการเรียนรู้ที่มีความสุขและความหมาย ให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนในพื้นที่จังหวัดพิจิตร โดยคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิใจกระทิง ดำเนินโครงการ “นิเวศการเรียนรู้แห่งความสุข และความหมาย: การพัฒนาศักยภาพโรงเรียนร่วมพัฒนา จังหวัดพิจิตร” ตั้งแต่วันที่...

มหา’ลัยไทบ้าน ปี 2 #Mission To The Moon

.............ก่อการครู ชวนทำภารกิจพิชิตดวงจันทร์กับมหา’ลัยไทบ้าน ปี 2 #Mission To The Moon การศึกษาเชิงพื้นที่ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและปลดแอกการเรียนรู้จากรั้วโรงเรียนสู่การเรียนรู้จากชุมชน ผ่านอัลบั้มภาพชุด “Mission To The Moon : ภารกิจเที่ยว ทำ เล่น เรียน รู้...

มายาคติว่าด้วยความสำเร็จ: การสอบเข้ามหาวิทยาลัยอาจไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต

ภาพ: เฉลิมพล ปัณณานวาสกุล เคยสังเกตไหม เวลานั่งรถผ่านหน้าโรงเรียนมัธยม ไม่ว่าในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด ที่ตลอดแนวรั้วดูเหมือนจะถูกเนรมิตให้เป็นพื้นที่โฆษณาขนาดมหึมา มีแผ่นป้ายไวนีลติดประกาศเชิดชูนักเรียนที่ได้รับรางวัลต่างๆ นานา ขนาบด้วยภาพนักเรียนชั้น ม.6 ที่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยต่างๆ สร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียน หากมองเข้าไปถึงความรู้สึกของเด็ก อาจมีบางคำถามผุดขึ้นตามมาว่า เด็กเหล่านั้นคิดอย่างไรกับการที่รูปของเขาและเธอถูกแปะไว้เต็มกำแพงโรงเรียนด้วยความชื่นชมของผู้ใหญ่ กับอีกมุม แล้วเด็กที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ล่ะ จะรู้สึกอย่างไรกับเรื่องนี้? นั่นคือข้อสังเกตประการหนึ่ง...

‘มหาลัยนัยหลืบ’ หลักสูตรของเด็กช่างฝัน

“หมุนวงล้อการเรียนรู้ กับ ครูสายปั่น” บทที่ 2 เรื่องเล่าจากการเดินทางของเราครั้งนี้ เป็นช่วงเวลาที่ผมและทีมงานก่อการครูได้ขับเคลื่อนกิจกรรมรถพุ่มพวง ชวนเรียนรู้ ณ กาฬสินธุ์ ทดลองให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ผ่านบริบทชุมชนของตนเอง แล้วให้ผู้เรียนค้นหาประเด็นที่พวกเขาสนใจในชุมชน จำได้ว่ามีนักเรียน ม.ปลาย คนหนึ่ง สนใจเรื่อง ดินธรรมดา ๆ แต่มาถึงตอนนี้ ดินในวันนั้นได้เปลี่ยนคน ๆ หนึ่ง ไปไกลกว่าที่ผมคิด...