Korkankru

บทความ / บทสัมภาษณ์

ห้องเรียนแห่งความรู้ ห้องเรียนแห่งความรัก

ห้องเรียนทุกห้องจะมีแต่เสียงหัวเราะ ถ้าทั้งครูและนักเรียนเปิดใจคุยกัน ด้วยความเข้าใจถ้าโรงเรียนไหนอยากร่วมสร้างห้องเรียนแห่งรัก ลองฟังประสบการณ์จากครูโรงเรียนอุนบาลหนองหานวิทยายนที่ช่วยกันถอดบทเรียนเพื่อทำให้ทุกห้องเรียนเบ่งบานด้วยความรักและความเข้าใจ “มีนักเรียนคนหนึ่งเข้ามาใหม่เรียนตอนกลางเทอม เขาอ่านหนังสือไม่ออก เขียนหนังสือไม่ได้ พอเราพยายามกระตุ้นน้องเพื่อให้เรียนทันเพื่อน แต่เขากลับร้องไห้ ซึ่งเราก็ตกใจมาก เพราะไม่คิดว่า การถามว่า ทำไมไม่ส่งการบ้านจะทำให้เขาร้องไห้ หลังจากนั้นเราก็ใส่ใจและสังเกตเขาพฤติกรรมเขามากขึ้น” เป็นประสบการณ์ตรงของ “วิไลลักษณ์ รู้กิจ” หรือ ครูลิลลี่ ครูประจำชั้น ป.2...

ชุดภาพ จุดไฟในใจครูด้วยเวทมนตร์แห่งรัก

ท่ามกลางต้นไม้ร่มครื้มในโรงแรมฟ้าหลวงรีสอร์ท จังหวัดอุดรธานี บรรดาครูโรงเรียนอนุบาลหนองหานวิทยายนกว่า 40 ชีวิตนัดหมายกันที่นี่เพื่อถอดบทเรียน พร้อมเติมพลังให้กันและกันเพื่อพัฒนาห้องเรียนด้วยหลักสูตรใหม่ที่ตัวแทนครูบางคนได้เข้าเรียนรู้หลักสูตร “บัวหลวงก่อการครู” ซึ่งเป็นหลักสูตรพัฒนาศักยภาพของครูเพื่อเติมเต็มความรู้ให้กับเหล่าอนาคตของชาติ  ก่อนเริ่มจุดไฟในใจครู ก่อนจะเริ่มอบรมปฏิบัติการ “จุดไฟในใจครู สร้างการเรียนรู้เปี่ยมพลัง”  ศรีสมร สนทา ผู้อำนวยโรงเรียนอนุบาลหนองหานวิทยายน จ.อุดรธานี  ได้ปลุกไฟในตัวครูรุ่นลูก มีใจความสำคัญว่า ก่อนจะมีการประชุมวันนี้ พวกเราต้องเลื่อนแล้วเลื่อนอีก ทั้งจากเหตุการณ์โควิดบ้าง...

มายาคติว่าด้วยความสำเร็จ: การสอบเข้ามหาวิทยาลัยอาจไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต

ภาพ: เฉลิมพล ปัณณานวาสกุล เคยสังเกตไหม เวลานั่งรถผ่านหน้าโรงเรียนมัธยม ไม่ว่าในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด ที่ตลอดแนวรั้วดูเหมือนจะถูกเนรมิตให้เป็นพื้นที่โฆษณาขนาดมหึมา มีแผ่นป้ายไวนีลติดประกาศเชิดชูนักเรียนที่ได้รับรางวัลต่างๆ นานา ขนาบด้วยภาพนักเรียนชั้น ม.6 ที่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยต่างๆ สร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียน หากมองเข้าไปถึงความรู้สึกของเด็ก อาจมีบางคำถามผุดขึ้นตามมาว่า เด็กเหล่านั้นคิดอย่างไรกับการที่รูปของเขาและเธอถูกแปะไว้เต็มกำแพงโรงเรียนด้วยความชื่นชมของผู้ใหญ่ กับอีกมุม แล้วเด็กที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ล่ะ จะรู้สึกอย่างไรกับเรื่องนี้? นั่นคือข้อสังเกตประการหนึ่ง...

ภัสรัญ สระทองนวล: “วิชาใจ สำคัญไม่น้อยกว่าวิชาการ”

เริ่มต้นจากการเป็นครูแนะแนวไฟแรง งัดทุกกลวิชามาถ่ายทอดสู่นักเรียน เป็นครูที่เด็กๆ วิ่งเข้าหา ด้วยท่าทีเป็นกันเอง เปิดเผย รับฟัง  ทำให้ในเวลาไม่นานนัก ครูแก้ว - ภัสรัญ สระทองนวล ครูแนะแนวแห่งโรงเรียนกำแพงแสนวิทยา ก็กลายเป็นขวัญใจของเด็กๆ โดยปริยาย งานสอนไม่บกพร่อง งานกิจกรรมก็ไม่แพ้กัน  ครูแก้วปลุกปั้นทีมวอลเล่ย์บอลโรงเรียนในฐานะโค้ชครั้งแรก ก็หอบรางวัลที่ 3 ของจังหวัดมาประดับโรงเรียน...

กริยาสามช่องของการศึกษา: อดีตที่เคยชิน ปัจจุบันอันเจ็บปวด และอนาคตที่ใฝ่ฝัน

กล่าวกันอย่างถึงที่สุด ‘ครู’ ไม่ใช่อาชีพอันพึงปรารถนาในประเทศนี้อีกต่อไปแล้ว นับกันแค่ช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา พาดหัวข่าว ‘ครูประกาศลาออก’ ปรากฏขึ้นเป็นระยะๆ การลาออกไม่ใช่เรื่องแปลก แต่เหตุผลของการเลือกที่จะลาออกจากอาชีพที่ใครหลายคนบากบั่นร่ำเรียนมาถึง 4 ปี หรือมากกว่านั้นนี่สิน่าสนใจ ว่านอกจากจะสะท้อนโครงสร้างของระบบการศึกษาของประเทศได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังสะท้อนถึงชีวิตความเป็นอยู่ของนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา ไปจนถึงทำนายอนาคตของประเทศจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ไม่น้อยก็มาก ‘ภาระงานของครูที่มากเกินไป, ค่าตอบแทนที่น้อยเกินไป, ระบบที่ขาดความเข้าใจในสิทธิและสวัสดิภาพในการทำงาน, ครูถูกผลักให้ต้องรับผิดชอบปัญหาที่เกิดขึ้น, อำนาจรวมศูนย์ โรงเรียนไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ,...

โคกสลุงกับพังงา: ไม่มีฮีโร่ มีแต่การ ‘นำร่วม’ ของคนตัวเล็กตัวน้อย

พังงาแห่งความสุข ท่ามกลางผู้คนที่ผ่านพบในสถานการณ์ยุ่งเหยิงและโกลาหลหลังเหตุการณ์สึนามิ ภัยพิบัติในครั้งนั้นได้สร้างคนทำงานภาคประชาสังคมและผู้นำมากมายในจังหวัดพังงา ทุกข์ที่มีร่วมกันได้เรียงร้อยการทำงานให้พวกเขาที่เคยกระจัดกระจายไปคนละทิศ สู่การผนึกกำลังเป็นกลุ่มก้อนใหญ่ เพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกันคือ ‘รวมคนสร้างเมืองแห่งความสุข’ ชุมชนวัฒนธรรมไทยเบิ้งโคกสลุง ความโดดเด่นของชุมชนแห่งนี้คือ ความเข้มแข็งของชุมชนในการใช้เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยเบิ้ง ในการรับมือกับวิกฤติการวางผังเมือง ทำให้ตำบลโคกสลุงรอดพ้นจากการเป็นพื้นที่เขตอุตสาหกรรม สถาบันไทยเบิ้งโคกสลุงเพื่อการพัฒนาจึงถูกตั้งขึ้นเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน พัฒนาภูมิปัญหาและวัฒนธรรม ไปจนถึงการสร้างชุมชนให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้ต่อไป โดยสังเขป สองพื้นที่ข้างต้น คือพื้นที่การวิจัยในหัวข้อ ‘การถอดบทเรียนปฏิบัติการเชิงพื้นที่ภายใต้แนวคิดเรื่องการนำร่วมกรณีศึกษา...

เราอยู่ในสังคมเหลื่อมล้ำที่เรียกร้องพลังของ ‘การนำร่วม’ มากกว่าฮีโร่

ทุกปัญญาในสังคมล้วนโยงใยซึ่งกันและกันดั่งตาข่าย สังคมไม่อาจเดินหน้าไปได้หากปัญหาของการศึกษายังไม่ถูกแก้ไข การศึกษาไม่อาจดีขึ้นได้ หากความเหลื่อมล้ำยังถ่างกว้าง ปากท้องของผู้คนไม่อาจอิ่มได้ หากโอกาสในการเข้าถึงคุณภาพชีวิตที่ดี มีที่ว่างให้ผู้คนเพียงหยิบมือ ชุมชนไม่อาจแข็งแรงได้ หากการกระจายอำนาจเป็นเพียงภาพฝัน  ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราต่างยืนอยู่ท่ามกลางสังคมที่รายล้อมด้วยปัญหาทุกมิติ การศึกษา สิ่งแวดล้อม ความขัดแย้งทางการเมือง ความเหลื่อมล้ำของสังคม ฯลฯ  ขณะนี้ สังคมปัจจุบันเริ่มตั้งคำถามต่อปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจังและตรงไปตรงมา  ผู้คนจำนวนไม่น้อยเชื่อว่า ปัญหาเหล่านี้แก้ได้ สังคมดีกว่านี้ได้ และเราต่างเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงนั้น...

‘มหาลัยนัยหลืบ’ หลักสูตรของเด็กช่างฝัน

“หมุนวงล้อการเรียนรู้ กับ ครูสายปั่น” บทที่ 2 เรื่องเล่าจากการเดินทางของเราครั้งนี้ เป็นช่วงเวลาที่ผมและทีมงานก่อการครูได้ขับเคลื่อนกิจกรรมรถพุ่มพวง ชวนเรียนรู้ ณ กาฬสินธุ์ ทดลองให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ผ่านบริบทชุมชนของตนเอง แล้วให้ผู้เรียนค้นหาประเด็นที่พวกเขาสนใจในชุมชน จำได้ว่ามีนักเรียน ม.ปลาย คนหนึ่ง สนใจเรื่อง ดินธรรมดา ๆ แต่มาถึงตอนนี้ ดินในวันนั้นได้เปลี่ยนคน ๆ หนึ่ง ไปไกลกว่าที่ผมคิด...

“เพราะความฮู้มีอยู่สุเเก” | รู้จัก มหา’ลัยไทบ้าน #เรียนรู้ดูทำ

การเรียนรู้เกิดขึ้นที่ไหนได้บ้าง? ในยุคที่การศึกษาเปลี่ยนผันตามความเปลี่ยนแปลง โรงเรียนและมหาวิทยาลัยในระบบปัจจุบัน อัดฉีดความรู้ได้เพียงพอไหม “ความฮู้มีอยู่สุเเก” เสียงนักเรียนรู้ ‘มหาลัยไทบ้าน’ ดังก้อง สื่อความภาษาอีสานเป็นคำตอบบนความเชื่อว่า “ความรู้มีอยู่ทุกที่” และตอนนี้พวกเขาได้สร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้เพื่อแชร์ภาพฝันให้ชัดเจนขึ้นใน อ.สีชมพู อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น และ อ.ภูกระดึง จ.เลย The Active x ก่อการครู ชวนทำความรู้จัก ‘มหาลัยไทบ้าน’ เพื่อขยายความคำตอบจากหลักสูตรการศึกษาที่หาไม่ได้จากมหาวิทยาลัยในระบบ ผ่านอัลบั้มภาพชุด “เพราะความฮู้มีอยู่สุเเก : รู้จักมหา’ลัยไทบ้าน เรียนรู้ดูทำ” รวมเรื่องราวให้ร่วมเรียนรู้เหมือนเข้าไปอยู่ด้วยกัน รับน้องใหม่ มหา’ลัยไทบ้าน ในวันหยุดยาวต้นธันวาคม 2564 ลมหนาวภาคอีสานกระหน่ำพัดให้ชวนขนลุกเป็นระยะ ความอบอุ่นค่อย ๆ ยังขึ้นในช่วงสายจากแสงแดดและผู้คนที่เดินทางมาพบกัน เราอยู่ที่ ‘ยายตา at home’ โฮมสเตย์ใน ต.ดงลาน อ.สีชมพู จ.ขอนแก่น ของคนรุ่นใหม่ที่หวนกลับบ้านมาทำให้ทุ่งนาธรรมดาไกลเมืองของคนรุ่นพ่อแม่ กลายเป็นจุดเช็กอินของคนรุ่นตัวเอง ด้วยการขยับขยายจากบ้านรับแขกเป็นบ้านพักนักท่องเที่ยวซึ่งโปรโมทกันภายใต้ชื่อ “เที่ยววิถีสีชมพู” การท่องเที่ยวโดยชุมชนจากพลังหนุ่มสาวคืนถิ่นที่ช่วยกันทำ 2 ปีมานี้ วันนี้ ‘ยายตา at home’ เป็นหมุดหมายของนักเรียนรู้ที่สมัครเข้าเรียน ‘มหาลัยไทบ้าน’ ปี 1 ลานโล่งด้านหน้าโฮมสเตย์ มีนิทรรศการและผลงานศิลปะฝีมือพวกเขาบางส่วนวางจัดแสดง ฉายให้เห็นที่เที่ยวและบ่งบอกเชิงสัญลักษณ์เรื่องการศึกษา หลังจากเมื่อเมษายนที่ผ่านมา ‘ยายตา at home’ ได้รวมผู้คนซึ่งใช้ชื่อว่า “ก่อการครู 3 ภูพลัส” ทำภารกิจสร้างครูเป็นตัวคูณเคลื่อนสังคมผ่านแนวคิดขยายพื้นที่การเรียนรู้จากห้องเรียนไปสู่ชุมชน ทำความรู้จัก “ก่อการครู 3 ภูพลัส” บทที่ 1 ไทมุง ความสัมพันธ์ “ต้อนรับทุกท่านเข้าสู่การเปิดมหาลัยของพวกเราอย่างเป็นทางการ การมาของพวกท่านวันนี้มีความหมายมาก เพราะถือว่ามาเป็นประจักษ์พยานในการริเริ่มอะไรใหม่ ๆ ด้วยกัน เราเชื่อเรื่องการศึกษาว่าทุกคนสามารถมีอำนาจลุกขึ้นมาทำอะไรสร้างสรรค์ในบ้านตัวเองได้ โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาเพื่อความเป็นไท”...

การศึกษาความเป็น “ไท” โดยเหล่าครูก่อการและหนุ่มสาวไทบ้าน

“การศึกษา” ที่เราเชื่อ คือ “การศึกษา” ที่ทำให้เรามีทักษะและความรู้ สามารถทำให้เราอยู่รอดได้ แล้วต้องทำให้เราอยู่ร่วมกับผู้อื่นและสิ่งแวดล้อมได้อย่างสันติสุข มากกว่านั้นคือ อยู่อย่างมีความหมาย อยู่อย่างสร้างสรรค์ มีส่วนร่วม กล้าที่จะตั้งคำถามกับปัญหาที่พบเจอ กล้าที่จะลงมือทำ กล้าที่จะแตกต่าง กล้าที่นำ เพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นต่อส่วนรวม ปัจจัยที่จะทำให้ภาพของ “การศึกษา” ที่เราเชื่อเกิดขึ้นได้ เริ่มต้นจากทัศนคติที่มองเห็นระบบนิเวศของการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวม ไม่ได้แยกส่วนจากกันเหมือนกับระบบการศึกษาไทยในปัจจุบัน ที่ยังขาดการบูรณการ ตั้งแต่โครงสร้างที่แยกเป็นวิชา แยกเป็นชั้นเรียน แยกระดับการเรียนเป็นเกรด ประเมินการเรียนรู้หรือศักยภาพผู้เรียนที่ถูกตัดสินจากมุมมองหรือหลักเกณฑ์ที่ไม่หลากหลาย...