Korkankru

มายาคติ

‘แผนการเรียนเฉพาะ’ ทางเลือกของการศึกษาไทย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียน ?

highlight การแบ่งสายการเรียน “วิทย์-ศิลป์” เกิดขึ้นในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2476 เพื่อรองรับการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา แต่ไม่ยืดหยุ่นและสามารถตอบสนองต่อความต้องการในการค้นหาตนเอง “แผนการเรียนเฉพาะทาง” การแบ่งสายการเรียนอิงจากคณะต่าง ๆ ในระดับอุดมศึกษาเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เพื่อมุ่งหวังแก้ปัญหา แต่กลับเป็นการจัดทำแผนการเรียนเฉพาะที่ยิ่งล็อกและบังคับให้นักเรียน ‘ต้องรีบ’ ที่จะรู้ว่าตนเองสนใจและถนัดสิ่งใด เพื่อกระโจนเข้าสู่การแบ่งศาสตร์และสายอาชีพที่เร็วมากขึ้น Personalize Learning ไม่ใช่สายการเรียน (track) ที่หลากหลายตัวอย่างการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้และค้นหาความสนใจ โดยไม่แบ่งสายการเรียนวิทย์...

มายาคติว่าด้วยความสำเร็จ: การสอบเข้ามหาวิทยาลัยอาจไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต

ภาพ: เฉลิมพล ปัณณานวาสกุล เคยสังเกตไหม เวลานั่งรถผ่านหน้าโรงเรียนมัธยม ไม่ว่าในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด ที่ตลอดแนวรั้วดูเหมือนจะถูกเนรมิตให้เป็นพื้นที่โฆษณาขนาดมหึมา มีแผ่นป้ายไวนีลติดประกาศเชิดชูนักเรียนที่ได้รับรางวัลต่างๆ นานา ขนาบด้วยภาพนักเรียนชั้น ม.6 ที่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยต่างๆ สร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียน หากมองเข้าไปถึงความรู้สึกของเด็ก อาจมีบางคำถามผุดขึ้นตามมาว่า เด็กเหล่านั้นคิดอย่างไรกับการที่รูปของเขาและเธอถูกแปะไว้เต็มกำแพงโรงเรียนด้วยความชื่นชมของผู้ใหญ่ กับอีกมุม แล้วเด็กที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ล่ะ จะรู้สึกอย่างไรกับเรื่องนี้? นั่นคือข้อสังเกตประการหนึ่ง...

โครงการวิจัย “สำรวจวาทกรรมเกี่ยวกับการจัดการในชั้นเรียนและการลงโทษของครูระดับชั้นมัธยมศึกษา”

งานวิจัยชิ้นนี้มีเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจชุดความคิด/วาทกรรมต่างๆ ที่หล่อเลี้ยงให้ครูยังเลือกใช้การจัดการชั้นเรียนและการลงโทษนักเรียนด้วยความรุนแรง เห็นได้จากปรากฏการณ์ที่ยังมีการตีนักเรียนอย่างแพร่หลาย ส่วนใหญ่คำอธิบายต่อการจัดการชั้นเรียนและการลงโทษด้วยความรุนแรงมักเป็นการอธิบายในเชิงพฤติกรรมของครูในฐานะปัจเจกบุคคลซึ่งไม่เพียงพอต่อการทำความเข้าใจความแพร่หลายของปรากฏการณ์การใช้การตีเพื่อการลงโทษได้ โดยมีข้อค้นพบ และประเด็นสำคัญจากการศึกษา ดังต่อไปนี้ หนึ่ง ปรากฎการณ์การลงโทษด้วยความรุนแรงไม่ได้เกิดขึ้นด้วยตัวของมันเองหากแต่เป็นส่วนหนึ่งและมีความเกี่ยวพันกับปรากฎการณ์ โครงสร้างทางสังคม และชุดวาทกรรมต่างๆ ได้แก่ ความเป็นครูและบทบาทของครูที่ถูกคาดหวังให้เป็นแม่พิมพ์ ที่ต้องขัดเกลาเด็กให้เป็นนักเรียนที่มีความสมบูรณ์แบบและเป็นไปตามมาตรฐานที่สังคมคาดหวัง  อีกทั้งระบบการฝึกฝนครูที่อาจจะไม่ได้แสดงให้เห็นทางเลือกในการจัดการชั้นเรียนและการลงโทษนอกจากการใช้อำนาจ และวัฒนธรรมระบบรุ่นพี่รุ่นน้องและความเคารพอาวุโส (โซตัส) ที่มีความเข้มแข็งในคณะศึกษาศาสตร์หลายๆแห่ง สอง แม้ครูหลายคนจะไม่ใช้การลงโทษด้วยการตี แต่หากตีความผ่านมโนทัศน์เรื่องความรุนแรงเชิงโครงสร้างและวัฒนธรรมแล้ว...

มายาคติความเสมอภาคทางการศึกษาภาคบังคับในประเทศไทย: การขยายโอกาสและสุขภาวะทางสังคม

งานวิจัยเรื่องมายาคติความเสมอภาคทางการศึกษาภาคบังคับในประเทศไทย : การขยายโอกาสและสุขภาวะสังคม เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ใช้วิธีการศึกษาแบบชาติพันธุ์วรรณา(ethnographic approach) มาทำการวิเคราะห์กระบวนการประกอบสร้างความหมายเกี่ยวกับความเสมอ ภาคทางการศึกษาภาคบังคับที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่ในสังคมไทยด้วยคำถามสำคัญที่ว่า อะไรคือความคิดเบื้องหลังคอยหล่อหลอมให้เกิดความเข้าใจเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษาภาคบังคับในสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และการรับรู้ดังกล่าวอุบัติขึ้นเพราะมีปัจจัยทางวัฒนธรรมหรือวาทะทางประวัติศาสตร์ชุดใดเข้ามาทำให้เกิดการยอมรับโดยไม่ถูกตั้งคำถามใด ๆ ด้วยคาดหวังว่าผลจากการวิจัยจะสามารถสะท้อนให้เห็นภูมิหลังอุดมการณ์ปฏิรูปการศึกษาไทยควบคู่กับชี้ให้เห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสุขภาวะสังคมในอีกแง่มุมหนึ่ง ผลการศึกษาพบว่า นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 การศึกษาถูกยกให้เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาประเทศและการทำให้ชนชั้นเท่าเทียมกัน โดยคำว่า “ความเสมอภาคทางการศึกษา” ถูกกล่าวถึงอย่างชัดเจนในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่...

มายาคติว่าด้วยความสำเร็จของผู้เรียน : กรณีศึกษาเรื่องการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในประเทศไทย

งานวิจัยนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการสอบเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่งถูกมองว่าเป็นหมุดหมายแสดงถึงความสำเร็จทางการศึกษาของผู้เรียน ก่อให้เกิดกระแสการแข่งขันการกวดวิชา และความพยายามอย่างหนักที่จะประสบความสำเร็จในการเข้ามหาวิทยาลัย การประสบความสำเร็จในการเข้ามหาวิทยาลัย ถูกผูกโยงเข้ากับความสำเร็จในชีวิตภายภาคหน้า ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะทั่งทางใจ ทางกาย ทางสังคม ของผู้เรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เช่น ผู้ปกครองและครู ปัจจุบัน การศึกษาที่ทำความเข้าใจถึงที่มาของชุดความคิดที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จ ว่ามีการก่อร่าง ส่งต่อ และส่งผลอย่างไรต่อสุขภาวะผู้เรียนและสังคม มีจำนวนน้อยมาก ดังนั นงานวิจัยนี...

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: มายาคติในการศึกษาไทย

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เป็นกรอบแนวคิดที่ปรากฏขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 ซึ่งกล่าวถึง ความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนาคนให้มีความเท่าทันและมีทักษะในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและความไม่แน่นอนของโลกอนาคต หลายประเทศทั่วโลกรับแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 นี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายทางการศึกษาเพื่อพัฒนาให้เยาวชนมีทักษะที่จ าเป็นต่อการ “อยู่รอด” และนำพาประเทศสู่แนวหน้า สำหรับประเทศไทย แนวคิดนี้ได้กลายเป็นของแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561 - 2580) และนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงศึกษาธิการในการเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21...

รายงานการสังเคราะห์โครงการวิจัยมายาคติทางการศึกษาในสังคมไทย

รายงานการสังเคราะห์ภาพรวมมายาคติทางการศึกษาในสังคมไทย มีเป้าหมายที่จะสังเคราะห์ข้อค้นพบจากชุดโครงการวิจัยการสำรวจและรื้อถอนมายาคติทางการทางศึกษาในสังคมไทย 5 โครงการ ที่ประกอบด้วย “ทักษะแห่งศตวรรษที่21” “เพศ” “ความเสมอภาคทางการศึกษา” “ความสำเร็จของผู้เรียน” และ “การจัดการในชั้นเรียนและการลงโทษ” โดยมุ่งเน้นไปที่การสำรวจชุดความคิด ความเชื่อ และคุณค่าที่ประกอบสร้างขึ้นเป็นมายาคติทางการศึกษาในด้านต่างๆ ที่ส่งอิทธิพลต่อการกำกับและควบคุมความคิด ความรู้สึก ตลอดจนพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้องในระบบนิเวศการศึกษา รวมทั้งศึกษาประสบการณ์และความคิดเห็นของนักเรียนและครูอาจารย์ที่มีต่อประเด็นทางการศึกษาในด้านต่างๆ เพื่อวิเคราะห์ให้เห็นถึงความซับซ้อนของการยึดถือหรือการต่อต้านวาทกรรมต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของปัจเจกบุคคลทั้งทางตรงและทางอ้อม        ...

เสวนาวิชาการ: ถอดสลักโลกการศึกษา ถอดบทเรียนการพัฒนาชุมชน

เวทีเสวนาวิชาการ "ก่อการวิจัย: ถอดสลักโลกการศึกษา ถอดบทเรียนการพัฒนาชุมชน" วันพุธที่ 26 สิงหาคม 2563 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้อง 202 ชั้น 2 อาคารสิริวิทยลักษณ์ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำหนดการเบื้องต้นช่วงเช้า...